วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

ค่าใช้จ่ายในการวิจัยพัฒนาและค่าเสื่อมราคา การตีความงบการเงิน


การวิจัยและพัฒนา : ทำไมวอร์เรน บัฟเฟตต์จึงถอยห่าง

        นี่คือค่าใช้จ่ายสำคัญเมื่อจะค้นหาบริษัที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน  สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นความได้เปรียบในระยะยาวของบริษัทมักจะเป็นข้อได้เปรียบซึ่งบริษัทได้จากลิขสิทธิบัตรหรือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  แต่หากบริษัทมีข้อได้เปรียบจากลิขสิทธิ์เช่น  บริษัทยา ฎ จุดหนึ่งสิทธิบัตรจะหมดอายุ และความได้เปรียบของบริษัทก็จะหมดไป
        หากความได้เปรียบของบริษัทเป็นผลจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีบางอย่าง  ความน่ากลัวคือ  เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่เข้ามาแทนที่  นี่เป็นสาเหตุที่ทำไมไมโครซอฟท์จึงกลัวความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของกูเกิ้ลหนักหนา  ...เพราะความได้เปรียบในวันนี้อาจเป็นความล้าสมัยในวันพรุ่งนี้ได้

        ไม่เพียงแต่บริษัทเหล่านี้ต้องใช้จ่ายเงินมหาศาลกับการวิจัยและพัฒนาเท่านั้น  แต่พวกเขายังต้องประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ใหม่  ออกแบบผลิตภัณฑ์ใใหม่  และปรับแผนการขายอยู่เสมอ  ซึ่งหมายความว่าต้องมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขายและการบริหารสูงมากด้วย  เราจะมาพิจารณาบริษัทเหล่านี้กัน : บริษัทยา เมิร์ค  ต้องใช้ 29% ของกำไรขั้นต้นในการวิจัยและพัฒนา และ 49% ของกำไรขั้นต้นกับค่าใช้จ่ายในการขาย/ทั่วไป/และบริหาร (SGA) ซึ่งรวมกันแล้วกินกำไรขั้นต้นไปถึง 78% ยิ่งกว่านั้นหากเมิร์คไม่สามารถพัฒนายาตัวใหม่ที่สามารถขายได้หลายพันล้านเหรียญ  บริษัทก็จะสูญเสียความได้เปรียบในการแข่งขันเมื่อสิทธิบัตรยาที่มีอยู่หมดอายุลงด้วย

         อินเทล  ผู้นำด้านเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วต้องใช้เงิน 30% ของกำไรขั้นต้นกับการวิจัยและพัฒนาอย่างสม่ำเสมอหาไม่แล้วบริษัทก็จะสูญเสียความได้เปรียบในการแข่งขันในเวลาเพียงสองสามปีเท่านั้น  

         มูดีส์  บริษัทจัดอันดับพันธบัตร  เป็นบริษัทคู่ใจของวอร์เรน บัฟเฟตต์ มานานด้วยเหตุผลที่ดี คือ มูดี้ส์ไม่มีค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนา  และมีค่า  SGA เพียง 25% ของกำไรขั้นต้นเท่านั้น  โคคา-โคล่าซึ่งไม่มีค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาเช่นกัน  แต่ต้องโฆษณาสินค้าอย่างบ้าคลั่ง  เฉลี่ยแแล้วมีค่า SGA เพียง 59% ของกำไรขั้นต้นเท่านั้น  กับบริษัทเช่นมูดี้ส์และโคคา - โคล่า  วอร์เรนไม่ต้องนอนตาโพลงตลอดคืนด้วยความกังวลว่า  สิทธิบัตรยากำลังจะหมดอายุ  หรือว่าเทคโนโลยีใหม่ของบริษัทจะไม่ชนะในการแข่งขันรอบต่อไป 

        และนี่คือกฏของวอร์เรน : บริษัทที่ต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมากในการวิจัยและพัฒนา  มีข้อด้วยแฝงอยู่ในความได้เปรียบในการแข่งขัน  ที่จะทำให้เศรษฐกิจระยะยาวของธุรกิจมีความเสี่ยงอยู่เสมอ  ซึ่งหมายความว่าความได้เปรียบนั้นไม่ใช่ "ของตาย"  และอะไรที่ไม่ใช่ของตาย  วอร์เรนไม่สนใจเด็ดขาด


ค่าเสื่อมราคา : ต้นทุนที่วอร์เรน  บัฟเฟตต์มิอาจเพิกเฉย 

         เครื่องจักรทุกตัว  อาคารทุกหลัง  ล้วนต้องชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา  และความชำรุดทรุดโทรมนี้จะปรากฏในงบกำไรขาดทุนในรูปของ ค่าเสื่อมราคา  โดยทั่วไป  จำนวนเงินที่เสื่อมไปในช่วงปีหนึ่งของสิ่งใดก็ตาม  คือค่าใช้จ่ายที่จัดสรรตามรายรับในปีนั้น ซึ่งนับว่ามีเหตุผลดี  เพราะว่าค่าความเสื่อมของสินทรัพย์  สามารถพูดได้ว่าเกิดจากการใช้สินทรัพย์นั้นๆ ในกิจกรรมของธุรกิจซึ่งก่อให้เกิดรายรับ
     
         ตัวอย่างเช่น : ให้เรานึกถึงภาพบริษัท XYZ การพิมพ์ ซึ่งซื้อแท่นพิมพ์ราคา 1 ล้านดอลลาร์  ซึ่งมี่อายุการใช้งาน 10 ปี เนื่องจากอายุใช้งาน 10 ปี สรรพากรจะไม่ยอมให้บริษัทตัดค่าใช้จ่ายทั้งหมด $1 ล้านในปีที่ซื้อปีเดียว  แต่ต้องกระจายค่าแท่นพิมพ์ออกเป็นเวลา 10 ปีตามที่ใช้งานด้วยอายุการใช้งานของแท่นพิมพ์ 10 ปี  และต้นทุนแรกเริ่ม $1 ล้าน  หมายความว่า บริษัท XYZ จะต้องตัดค่าเสื่อมราคาของแท่นพิมพ์ในอัตรา $100,000 ต่อปี  ค่าเสื่อมราคาคือต้นทุนจริงในการทำธุรกิจ  เพราะว่า ณ จุดหนึ่งในอนาคต  แท่นพิมพ์นี้จะต้องถูกปลดระวางและมีแท่นใหม่มาแทน 

         การซื้อแท่นพิมพ์นี้จะปรากฏในงบดุล คือ บัญชี เงินสด จะถูกหักออก $1 ล้าน ไปปรากฏเพิ่มที่บัญชี  โรงงานและเครื่องจักร $1 ล้าน จากนั้นในอีก 10 ปีข้างหน้า คือเสื่อมราคา $100,000 ต่อปี  จะปรากฏเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน  ส่วนในงบดุล แต่ละปี $100,000 จะถูกหักจากส่วนสินทรัพย์ในรายการ โรงงานแลเครื่องจักร ในขณะที่ในส่วนหนึ่้สิน ค่าเสื่อมราคาสะสม จะเพิ่มขึ้น $100,000 จำนวนเงินสด $1 ล้าน เหรียญ  ที่ใช่้ไปจริงในการซื้อแท่นพิมพ์จะไปปรากฏในงบกระแสเงินสดในรายการ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการลงทุน  เราขอย้ำว่าค่าแท่นพิมพ์ 1 ล้านเหรียญ ไม่ได้ถูกหักเป้นค่าใช้จ่ายในปีที่ซื้อทั้งหมด แต่กระจายออกเป็นค่าเสื่อมราคาในงบกำไรขาดทุนปีละ $100,000 ทบกับเป็นเวลา 10 ปี

          การทำเช่นนี้ทำให้พ่อมดการเงินชาววอลล์สตรีททั้งหลายได้กลอุบายบางอย่าง คือ พวกเขาพบว่าทันทีที่มีการซื้อแท่นพิมพ์และจ่ายเงินเรียบร้อย  จะไม่มีการจ่ายเงินสดให้กับค่าเสื่อมราคาปีละ $100,000  อีก แต่มันยังคงทำให้รายได้ที่รายงานต่อสรรพากรลดลงทุกปีเป็นเวลา 10 ปี ซึ่งหมายความว่า เมื่อมองในระยะสั้น บริษัท XYZ มีค่าใช้จ่ายประจำปี  แต่ในความเป็นจริงค่าใช้จ่ายเงินสดไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย  ด้วยเหตุนี้ พ่อมดการเงินชาววอลล์สตรีทจึงสามารถเพิ่มค่าใช้จ่าย $100,00 กลับเข้าไปในรายได้ ซึ่งหมายความว่ากระแสเงินสดของธุรกิจในตอนนี้สามารถรองรับหนี้สินสำหรับการซื้อธุรกิจด้วยเงินกู้ (leveraged buyout) ของนักเก็งกำไรได้  วอลล์สตรีทมีตัวย่อสำหรัรบการคำนวณรายได้เหล่านี้กลับไปใหม่ว่า EBITDA ซึ่งมาจาก Earnings Before Income Taz,Depreciation, and Amortization หรือ รายได้ก่อนหักภาษี  ค่าเสื่อมราคา  และค่าตัดจำหน่าย

          วอร์เรน  บัฟเฟตต์บอกว่าเมื่อชาววอลล์สตรีทหัวใสนำ EBITDA มาใช้โดยไม่สนใจว่าในที่สุดแท่นพิมพ์นั้นจะชำรุดจนใช้ไม่ได้อีกต่อไป และบริษัทจะต้องหาเงินอีก $1 ล้านเหรียญ  มาซื้อแท่นใหม่ แต่บริษัทกลับมีภาระหนี้สินก้อนโตที่มาจากการซื้อธุรกิจด้วยเงินกู้  ทำให้ไม่มีความสามารถในการจ่ายเงิน $1 ล้าน เพื่อซื้อแท่นพิมพ์ใหม่อีก

          วอร์เรน บัฟเฟตต์เชื่อว่าค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่ายจริง และต้องถูกนำมารวมในการคำนวณหารายได้เสมอ  หากไม่เช่นนั้นแล้ว เท่ากับเรากำลังหลอกตัวเองในระยะสั้นให้เชื่อว่า  ธุรกิจกำลังทำรายได้มากกว่าความเป็นจริง และไม่มีใครรวยขึ้นมาจากการหลอกตัวเองได้

           สิ่งที่วอร์เรน  บัฟเฟตต์ได้พบก็คือ  บริษัทที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนมีแนวโน้มที่จะมีค่าเสื่อมราคาเมื่อเทียบเป็นอัตราร้อยละกับกำไรขั้นต้นต่ำกว่าบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากการแข่งขันรุนแรง  ตัวอย่างเช่น โคคา-โคล่าซึ่งมีค่าเสื่อมราคาประมาณ 6% ของกำไรขั้นต้นอย่างสม่ำเสมอ  และริกลี่ย์  บริษัทที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนอีก 1 บริษัทก็อยู่ที่ประมาณ 7%  เช่นกัน ในขณะที่พร็อคเตอร์แอนด์แกมเบิลบริษัทคู่ใจของวอร์เรนมานานอีกแห่งมีรค่าใช้จ่ายนี้ประมาณ 8% ...ตรงกันข้ามกับจีเอ็ม  ซึ่งอยู่ในธุรกิจที่ต้องมีการลงทุนสูงและมีการแข่งขันสูงซึ่งมีค่าเสื่อมราคาอยู่ที่ระหว่าง 22% ถึง 57% ของกำไรขั้นต้น

          เช่นเดียวกับค่าใช้จ่ายทุกชนิดที่กัดกร่อนกำไรขั้นต้นของบริษัท  วอร์เรน บัฟเฟตต์พบว่า  ยิ่งน้อยตัวเลขของกำไรที่ปรากฏในบรรทัดสุดท้ายของงบก็จะยิ่งมากเสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น