วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วอร์เรนต์ บัฟเฟตต์และการตีความงบการเงิน



" คุณต้องเข้าใจบัญชี  และต้องเข้าใจ  ความแตกต่างเล็กๆ น้อยๆ ในบัญชี  บัญชีคือภาษาของธุรกิจ  แต่เป็นภาษาที่ไม่สมบูรณ์  ตราบใดที่คุณไม่มีความตั้งใจ  ที่จะเรียนรู้และเข้าใจบัญชี  วิธีการอ่านและตีความหมายของงบการเงิน... จงอย่าเลือกหุ้นด้วยตัวคุณเอง "


การค้นหาบริษัทที่มีความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน

Chapter 12 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับงบดุล
Chapter 13 งบดุล สินทรัพย์ การตีความงบการเงิน
Chapter 14 วัฏจักรของสินทรัพย์หมุนเวียน วิธีการทำเงิน
Chapter 15 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด  สมบัติที่รอการปล้นจาก วอร์เรน  บัฟเฟตต์
Chapter 16 สินค้าคงคลังและลูกหนี้การค้า
Chapter 17 ค่าใช้จ่ายล่วงหน้าและอัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน
Chapter 18 อาคาร  ที่ดิน  และเครื่องจักร : สำหรับวอร์เรนต์  ไม่ใช่สิ่งที่ดี






วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

กำไรสุทธิ และกำไรต่อหุ้น การตีความงบการเงิน วอร์เร็น บัฟเฟตต์



กำไรสุทธิ : สิ่งที่วอร์เรนมองหา

        หลังจากค่าใช้จ่ายทั้งหมดและภาษีถูกนำมาหักออกจากรายได้ของบริษัทแล้ว  เราก็จะได้กำไรสุทธิของบริษัท  และตรงนี้คือที่ซึ่งเราจะทราบว่าบริษัททำเงินได้เท่าใดหลังจากที่จ่ายภาษีรายได้แล้ว  มีแนวคิดสองสามแนวคิดที่วอร์เรนใช้อยู่เมื่อเขาดูตัวเลขนี้  ซึ่งจะช่วยให้เขาตัดสินใจได้ว่าบริษัทนั้นๆ มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนหรือไม่.....เพราะฉะนั้น  ทำไมเราไม่เริ่มที่นี่เลยล่ะ

         แรกสุด  ในรายการของวอร์เรน บัฟเฟตต์คือ  ประวัติของกำไรสุทธินี้มีแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อยๆ หรือไม่  ตัวเลขกำไรสุทธิเพียงปีเดียวไม่มีค่าสำหรับวอร์เรน บัฟเฟตต์  สิ่งที่วอร์เรนสนใจคือภาพกำไรนั้นมีความสม่ำเสมอหรือไม่ และแนวโน้มในระยะยาวสูงขึ้นเรื่อยๆ ไหม --- ทั้ง 2 ข้อนี้แปลความหมายได้เท่ากับ "ความยั่งยืน" ของความได้เปรียบในการแข่งขัน... สำหรับวอร์เรนแล้ว  การเดินทางไม่จำเป็นต้องราบรื่นเสมอ  สิ่งที่เขามองหาคือประวัติแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อยๆ 

        อย่างไรก็ตาม  ให้หมายเหตุไว้ว่า : จากโครงการซื้อหุ้นคืนของบริษัท  เป็นไปได้ว่าประวัติแนวโน้มกำไรสุทธิของบริษัทอาจต่างจากประวัติแนวโน้มของกำไรต่อหุ้น  โครงการซื้อหุ้นคืนจะทำให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้นจากการลดลงของจำนวนหุ้นที่นำมาหารกำไรสุทธิของบริษัท  ทำให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น  แม้ว่ากำไรสุทธิที่แท้จริงจะไม่เพิ่มขึ้นเลยก็ตาม  ในกรณีสุดโต่ง  โครงการซื้อหุ้นคืนของบริษัทยังทำให้กำไรต่อหุ้นเพิ่มขึ้น ขณะที่กำไรสุทธิจริงของบริษัทลดลงก็มี

      แม้ว่าการวิเคราะห์การเงินส่วนใหญ่จะเน้นที่กำไรต่อหุ้นของบริษัทแต่วอร์เรน  บัฟเฟตต์จะมองที่กำไรสุทธิของธุรกิจเพื่อดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นกันแน่

      สิ่งที่วอร์เรน  บัฟเฟตต์เรียนรู้ก็คือ  บริษัที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนจะรายงานร้อยละของกำไรสุทธิต่อยอดรวมรายได้สูงกว่าคู่แข่ง  วอร์เรนบอกว่าหากได้เลือกเป็นเจ้าของบริษัทที่มีกำไร $20,000 ล้านเหรียญ  จากรายได้รวม $10,000 ล้าน  กับบริษัทที่มีกำไร $5,000 ล้าน จากรายได้รวม $100,000 ล้าน  เขาจะเลือกบริษัทที่มีกำไร $2,000 ล้าน  ทั้งนี้ก็เพราะว่า  บริษัที่มีกำไรสุทธิ $2,000 ล้าน  มีกำไรเท่ากับ 20% ของยอดรวมรายได้  ในขณะที่บริษัทมีกำไร $5,000 ล้าน  มีกำไรเพียง 5% ของยอดรวมรายได้เท่านั้น

     ดังนั้น  ตัวเลขยอดรวมรายได้อย่างเดียวจึงบอกอะไรเกี่ยวกับเศรษฐกิจของธุรกิจน้อยมาก  แต่อัตราส่วนของกำไรสุทธิต่อยอดรวมรายได้จะสามารถบอกอะไรได้มากมายเกี่ยวกับเศรษฐกิจของธุรกิจเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจอื่น 

     ธุรกิจที่น่าทึ่ง  เช่น โคคา - โคล่า  มีกำไร 21% จากยอดรวมรายได้ขณะที่มูดี้ส์ทำได้ 31% ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงเศรษฐกิจที่แฝงอยู่ในธุรกิจซึ่งเหนือกว่าโคคา - โคล่า  แต่บริษัทอย่างสายการบินเซาธ์เวสท์  มีกำไรน้อยนิดเพียง 7% ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงธรรมชาติของธุรกิจสายการบินที่มีการแข่งขันอย่างรุนแรง  ซึ่งไม่มีสายการบินใดมีความได้เปรียบในการแข่งขันเหนือเพื่อนร่วมธุรกิจเลย  ในทางกลับกัน  แม้แต่ในปีที่ดี (คือไม่ขาดทุน) จีเอ็ม  มีกำไรเพียง 3% ของยอดรวมรายได้เท่านั้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงเศรษฐกิจห่วยแตกที่แฝงอยู่ในอุตสาหกรรมรถยนต์ที่มีการแข่งขันซูเปอร์สูง

       กฏง่ายๆ (และมีข้อยกเว้น) ก็คือ : หากบริษัทมีประวัติการทำกำไรมากว่า 20% ของยอดรวมรายได้  เป็นไปได้อย่างยิ่งว่าบริษัทนั้นได้รับประโยชน์บางอย่างจากความได้เปรียบในการแข่งขันระยะยาว  ส่วนบริษัทที่แสดงตัวเลขรายได้สุทธิต่ำกว่า 10% ของยอดรวมรายได้อย่างสม่ำเสมอ  ส่วนใหญ่มักจะอยู่ในธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงที่ไม่มีบริษัทใดมีความได้เปรียบในการแข่งขันเหนือคู่แข่ง  แน่นอน  ระหว่างกำไร  10% และ 20% ของยอดรวมรายได้นั้น  มีพื้นที่สีเทากว้างมาก  และในพื้นที่นี้เต็มไปด้วยบริษัทมากมายที่พร้อมที่จะให้นักลงทุนเข้ามาเก็บเกี่ยวทองคำในระยะยาวซึ่งยังไม่มีผู้ใดค้นพบ

      หนึ่งในข้อยกเว้นของกฏข้อนี้คือ ธุรกิจธนาคารและสถาบันการเงิน  ซึ่งเมื่อมีอัตราร้อยละระหว่างกำไรสุทธิและยอดรวมรายได้สูงผิดปกติ  มักจะหมายถึงความไม่มีประสิทธิภาพของฝ่ายบริหารความเสี่ยงในขณะที่ตัวเลขของธุรกิจเหล่านี้ดูเย้ายวนใจนั้น  ความจริงมันกำลังบ่งบอกถึงการยอมรับความเสี่ยงมากกว่าเพื่อทำกำไรอย่างง่ายๆ ซึ่งในเกมของการให้กู้ยืมเงินแล้ว  มักจะเป็นสูตรสำเร็จของหายนะในระยะยาวและการประสบความหายนะทางการเงินนั้น  ไม่ใช่วิธีที่จะพาใครไปสู่ความร่ำรวยอย่างแน่นอน

กำไรต่อหุ้น : วอร์เรน บัฟเฟตต์รู้ได้อย่างไรใครคือผู้ชนะ  ใครคือผู้แพ้

           กำไรต่อหุ้น คือ กำไรสุทธิของบริษัทของแต่ละหุ้นในรอบบัญชีหนึ่ง  ซึ่งคือตัวเลขสำคัญในโลกของการลงทุน เพราะกฏมีว่า... ยิ่งบริษัทมีกำไรต่อหุ้นมากเท่าใด  ราคาหุ้นก็จะยิ่งสูงขึ้นเท่านั้น  ในการที่จะทราบว่าบริษัทมีกำไรต่อหุ้นเท่าใดนั้น  ให้เรานำกำไรสุทธิของบริษัทมาหารด้วยจำนวนหุ้นที่อยู่ในมือผู้ถือหุ้น  (Outstanding share) ของบริษัทตัวอย่างเช่น  หากบริษัทมีกำไรสุทธิ $10 ล้าน ในปีนั้นๆ และบริษัทมีหุ้นที่อยู่ในมือผู้ถือหุ้น 1 ล้านหุ้น กำไรต่อหุ้นในปีนั้นก็คือ $10 ดอลลาร์ต่อหุ้น

          ในขณะที่กำไรต่อหุ้นเพียงปีเดียวไม่สามารถนำมาใช้บ่งชี้ว่าบริษัทหนึ่งๆ มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนหรือไม่  แต่กำไรต่อหุ้นในระยะเวลา 10 ปีจะสามารถให้ภาพที่ชัดเจนว่า  บริษัทนั้นๆ มีความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาวหรือไม่  และสิ่งที่วอร์เรน  บัฟเฟตต์ค้นหาคือ ภาพกำไรต่อหุ้นในช่วง 10 ปีที่แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ  

          อะไรบางอย่างที่คล้ายคลึงกับตัวเลขด้านล่างนี้ 

                    08         $2.95
                    07         $2.68
                    06         $2.37
                    05         $2.17
                    04         $2.06
                    03         $1.95
                    02         $1.65
                    01         $1.60
                    00         $1.48
                    99         $1.30
                    98         $1.42

           ตัวเลขเหล่านี้แสดงให้วอร์เรน  บัฟเฟตต์เห็นว่า  บริษัทมีกำไรสม่ำเสมอและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระยะยาว  ซึ่งเป็นสัญญานดีเยี่ยมที่บ่งว่า  บริษัทนี้มีความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาว  ปกติแล้วกำไรที่สม่ำเสมอเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า  บริษัทกำลังขายผลิตภัณฑ์ตัวเดียวหรือหลายตัวซึ่งไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ อันเป็นงานที่มีค่าใช้จ่ายสูง  ส่วนกำไรที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น  หมายความว่า  เศรษฐกิจของบริษัทแข็งแกร่งพอที่ทำให้บริษัทสามารถสร้างค่าใช้จ่ายเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดด้วยการโฆษณาหรือขยายกิจการ  หรือทำวิศวกรรมทางการเงิน  เช่น  การซื้อหุ้นคืน  เป็นต้น ได้

      บริษัที่วอร์เรน บัฟเฟตต์จะถอยห่างคือ  บริษัที่มีภาพกำไรสับสน  เอาแน่ไม่ได้  ดังตัวอย่างต่อไปนี้

                    08         $2.50
                    07         $(0.45) ขาดทุน
                    06         $3.89
                    05         $(6.05) ขาดทุน
                    04         $6.39
                    03         $5.03
                    02         $3.35
                    01         $1.77
                    00         $6.68
                    99         $8.53
                    98         $5.24
       
           ตัวเลขเหล่านี้แสดงให้เห็นแนวโน้มที่ต่ำลงสลับกับขาดทุน   ซึ่งบอกวอร์เรนให้รู้ว่าบริษัทนี้อยู่ในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันที่รุนแรงและมีแนวโน้มที่จะรุ่งหรือจะดับไปเลยก็ได้  บริษัทจะรุ่งเมื่ออุปสงค์มากกว่าอุปทาน  แต่เมื่ออุปสงค์มีมาก  บริษัทก็จะเพิ่มการผลิตเพื่อตอบสนองซึ่งทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น  และนำไปสู่ภาวะอุปทานล้นตลาดในที่สุด  ภาวะสินค้าล้นตลาดทำให้ราคาตก  ซึ่งหมายความว่า  บริษัทจะขาดทุนจนกว่าตลาดจะสดใสขึ้นมาอีก  มีบริษัทนับพันที่เป็นเช่นนี้  ทำให้ราคาหุ้นผันผวนอย่างมากเนื่องจากกำไรที่ไม่คงที่  และทำให้นักลงทุนประเภทเน้นคุณค่า (Value Investor) คิดว่าคือโอกาสในการซื้อ  แต่ความจริงก็คือ  พวกเขากำลังตีตั๋วขึ้นเรือแจวที่ไม่สามารถนำนักลงทุนไปไหนได้ไกล

กำไร (ขาดทุน) กำไรก่อนหักภาษี และภาษีจ่าย


กำไร (ขาดทุน) จากการขายสินทรัพย์และอื่นๆ 

         เมื่อบริษัททำการขายสินทรัพย์ (ที่ไม่ใช่สินค้าคงคลัง) กำไรหรือขาดทุนจากการขายจะได้รับการบันทึกภายใต้ กำไร (ขาดทุน) จากการขายสินทรัพย์ โดยกำไรคือส่วนต่างของเงินที่ได้รับจากการขายและมูลค่าของสินทรัพย์ที่ปรากฏในบัญชีของบริษัท  หากบริษัทมีอาคารที่ได้มาในราคา $1 ล้าน  หลังจากตัดค่าเสื่อมไปเหลือมูลค่าเพียง $500,000 แล้วขายไป $800,000 บริษัทจะบันทึกกำไรจากการขายสินทรัพย์เท่ากับ $300,000  ในทางเดียวกัน  หากบริษัทขายอาคารไปในราคา $400,000 เหรียญ  บริษัทก็จะบันทึกขาดทุนเท่ากับ $100,000

        สำหรับบัญชีอื่นๆ ก็เป็นไปในทำนองเดียวกันนี้ บัญชีนี้คือที่ที่รายได้และค่าใช้จ่ายซึ่งไม่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการ  ค่าใช้จ่ายที่ไม่ปกติและไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยๆ ได้รับการคำนวณออกมาและบันทึกลงในงบกำไรขาดทุน  รายการเหล่านี้รวมถึงการขายสินทรัพย์ถาวร  เช่น  ที่ดิน  โรงงาน และเครื่องจักร  ส่วนที่รวมอยู่ในรายการ อื่นๆ อาจมี  เช่น การอนุญาติใช้สิทธิ์และการขายสิทธิบัตร  หากสิ่งที่เกิดขึ้นไม่เกี่ยวกับธุรกิจปกติของบริษัท

       บางครั้งรายการที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวก็มีนัยสำคัญต่อตัวเลขกำไรขาดทุนของบริษัทเช่่นกัน แต่เนื่องจากมันเป็นรายการที่จะไม่เกิดอีก  วอร์เรนจึงเชื่อว่าในการจะตัดสินว่าบริษัทมีความได้เปรียบในการแข่งขันหรือไม่นั้น  รายการเหล่านี้มันไม่ควรนำมาคำนวณรวมในกำไรสุทธิของบริษัท


กำไรก่อนหักภาษี : ตัวเลขซึ่งวอร์เรน  บัฟเฟตต์ใช้

          กำไรก่อนหักภาษี  คือกำไรของบริษัทหลังหักค่าใช้จ่ายทุกอย่างแล้ว  แต่ยังไม่หักภาษี  นี่คืออีกหนึ่งตัวเลขที่วอร์เรนใช้ในการคำนวณผลตอบแทนที่จะได้รับเมื่อเขาซื้อธุรกิจทั้งธุรกิจ  หรือซื้อเพียงบางส่วนจากการซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์

          นอกจากการลงทุนที่ได้รับการยกเว้นภาษีแล้ว  ผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนทุกรูปแบบจะถูกนำเสนอต่อตลาดในรูปก่อนการหักภาษีและเนื่องจากการลงทุนทุกชนิดจะต้องมีการแข่งขัน  ดังนั้น  การคิดถึงธุรกิจเหล่านี้ภายใต้เงื่อนไขที่เท่าเทียมกันจึงง่ายกว่า

          เมื่อวอร์เรน  บัฟเฟตต์ซื้อพันธบัตรปลอดภาษีมูลค่า $139 ล้านเหรียญ ของวอชิงตัน  พับบลิค เพาเวอร์  ซัพพลาย ซิสเต็ม (Washington Public Power Supply System - WPPSS) ซึ่งจ่ายดอกเบี้ยให้เขาปีละ $22.7 ล้านเหรียญ  โดยไม่ต้องหักภาษีนั้น  เขาให้เหตุผลว่ารายได้หลังหักภาษี  $22 ล้านเหรียญ  เท่ากับรายได้ก่อนหักภาษี $45 ล้าน ซึ่งปกติการซื้อธุรกิจที่จะทำรายได้ก่อนหักภาษีให้เขา $45 ล้าน  เขาต้องจ่ายเงิน $250 ล้าน ถึง $300 ล้าน ดังนั้น  เขาจึงมองว่าพันธบัตรของ WPPSS เป็นธุรกิจที่เขาซื้อได้ในราคาส่วนลด 50% เทียบกับมูลค่าของธุรกิจอื่นที่มีเศรษฐกิจเดียวกันซึ่งขายกันอยู่ในตลาด

          วอร์เรนจะพูดถึงรายได้ของบริษัทในรูปรายได้ก่อนหักภาษีเสมอเพราะทำให้เขาสามารถเปรียบเทียบธุรกิจหรือการลงทุนหนึ่งกับอีกธุรกิจหรือการลงทุนอื่นๆได้  หนึ่งในความจริงสำคัญที่วอร์เรนเผยให้เห็นก็คือ  บริษัทที่มีความได้เปรียบในการแข่งขัน  ความจริงแล้วก็คือ  "ตราสารทุน" (Equity bond) ประเภทหนึ่งที่ให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเสมอ  เราจะท้าการสำรวจทฤษฏีเกี่ยวกับ "ตราสารทุน" ของวอร์เรนอย่างละเอียดขึ้นในครั้งท้าย ๆ ของการตีความงบการเงินนี้


ภาษีจ่าย : วอร์เรนทราบได้อย่างไรว่าใครพูดความจริง

           เช่นเดียวกันกับผู้เสียภาษีทุกคน  บริษัทสัญชาติอเมริกันทุกบริษัทต้องเสียภาษีรายได้  โดยปัจจุบันอัตราภาษีที่ชำระอยู่ที่ประมาณ 35% ของรายได้บริษัท  เมื่อมีการจ่ายภาษีจำนวนดังกล่าวจะได้รับการบันทึกลงในงบกำไรขาดทุนภายใต้ ภาษีรายได้  หรือ  ภาษีจ่าย
           สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ภาษีจ่าย  ก็คือ  มันสะท้อนให้เห็นถึงรายได้ก่อนหักภาษีที่แท้จริงของบริษัท  บางครั้งหลายบริษัทชอบอวดโลกว่า ธุรกิจทำเงินมากกว่าที่ทำได้จริง (ช็อคล่ะสิ?) ดังนั้น  วิธีหนึ่งที่จะรู้ว่าพวกเขาพูดความจริงหรือไม่ก็คือ  ไปดูเอกสารที่ยื่น SEC ว่าพวกเขาเสียภาษีรายได้เท่าไหร่  โดยให้ดูตัวเลขตรงที่ระบุว่า  รายได้จากการดำเนินกิจการก่อนหักภาษี  แล้วหักออก 35% หากจำนวนที่ได้ไม่เท่ากับจำนวนที่บริษัทระบุไว้ใน ภาษีจ่าย  ก็เริ่มสงสัยได้

         วอร์เรน  บัฟเฟตต์เรียนรู้จากประสบการณ์อันยาวนานว่า  บริษัmที่วุ่นวายกับการตบตาสรรพากร  มักจะพยายามอย่างยิ่งในการตบตาผู้ถือหุ้นด้วยและความงดงามของบริษัทที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาว  คือ  การที่บริษัททำเงินได้มากจนไม่ต้องสร้างภาพตบตาใคร

ดอกเบี้ยจ่าย การตีความงบการเงิน วอร์เรน บัฟเฟตต์


ดอกเบี้ยจ่าย : วอร์เรน บัฟเฟตต์ไม่ต้องการ 

       ดอกเบี้ยจ่าย  คือ ดอกเบี้นที่บริษัทจ่ายออกไประหว่างไตรมาสหรือปี  สำหรับหนี้ของบริษัทซึ่งปรากฏในงบดุลในหมวด  หนี้สิน  ในขณะที่เป็นไปได้ที่บริษัทจะมีรายรับจากดอกเบี้ยมากกว่าที่จ่ายออกไป  เช่น ธนาคาร แต่ธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตและการขายปลีกส่วนใหญ่มักจะมีดอกเบี้ยจ่ายมากกว่าดอกเบี้ยรับ  

         ค่าใช้จ่ายนี้เรียกว่าต้นทุนทางการเงิน  ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการ และจะแยกออกมาเป็นอีกรายการโดดๆ เพราะดอกเบี้ยจ่ายจะไม่ผูกพันกับการผลิตหรือการขาย  แต่สะท้อนให้เห็นถึงหนี้ทั้งหมดที่บริษัทมีในบัญชี  ยิ่งบริษัทมีหนี้เท่าใด  ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายก็สูงขึ้นเท่านั้น 

         ในบริษัทที่มีดอกเบี้ยจ่ายสูงเทียบกับรายได้จากการดำเนินกิจการมีแนวโน้มที่จะเป็น 1 ใน 2 ประเภทนี้ คือ : เป็นบริษัทซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันรุนแรง  ที่ต้องมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการลงทุนสูงเพื่อให้สามารถแข่งขันได้  หรือเป็นบริษัทที่มีเศรษฐกิจของธุรกิจยอดเยี่ยมซึ่งมีหนี้จากการซื้อกิจการด้วยเงินกู้

           สิ่งที่วอร์เรน บัฟเฟตต์ค้นพบก็คือ   บริษัที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนมักจะมีดอกเบี้ยจ่ายน้อยหรือไม่มีเลย  พร็อคเตอร์แอนก์แกมเบิล บริษัทที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันระยะยาวมีดอกเบี้ยจ่ายเพียง 8% ของรายได้จากการดำเนินกิจการเท่านั้น  ในขณะที่ริกลี่ย์มีค่าใช้จ่ายส่วนนี้เฉลี่ย 7% ตรงกันข้ามกับกู๊ดเยียร์ซึ่งอยู่ในธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงและเป็นธุรกิจที่มีการลงทุนสูง  ที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยเฉลี่ยสูงถึง 49% ของรายได้จากการดำเนินกิจการ

          แม้แต่ในธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงเช่นธุรกิจสายการบิน  ตัวเลขดอกเบี้ยที่จ่ายออกไปจากรายได้จากการดำเนินกิจการก็สามารถนำมาบ่งชี้บริษัทที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันได้ด้วยเช่นกัน  สายการบินเซาธ์เวสท์ที่มีกำไรสม่ำเสมอ  มีดอกเบี้ยจ่ายเพียง 9% ของรายได้จากการดำเนินกิจการ  ในขณะที่สายการบินยูไนเต็ดคู่แข่งที่ล้มลุกคลุกคลานอยู่เสมอ  มีดอกเบี้ยจ่ายถึง 61% ของรายได้จากการดำเนินกิจการ และสายการบินอเมริกันคู่แข่งอีกหนึ่งของเซาธ์เวสท์ซึ่งมีปัญหารุมเร้าอยู่มีดอกเบี้ยจ่ายสูงถึง 92% ของรายได้จากการดำเนินกิจการ

           ด้วยเหตุนี้  จึงเป็นกฏว่า ... บริษัทในกลุ่มธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนซึ่ง วอร์เรน บัฟเฟตต์ ลงทุนอยู่ทั้งหมดต้องมีดอกเบี้ยจ่ายต่ำกว่า 15% ของรายได้จากการดำเนินกิจการทั้งสิ้นอย่างไรก็ตาม  ร้อยละของดอกเบี้ยจ่ายต่อรายได้จากการดำเนินกิจการของแต่ละอุตสาหกรรมสามารถมีความแตกต่างกันอย่างมาก ตัวอย่างเช่น เวลส์  ฟาร์โก  ธนาคารซึ่งวอร์เรนถือหุ้นอยู่ 14% จ่ายดอกเบี้ยประมาณ 30% ของรายได้จากการดำเนินกิจการ ซึ่งดูเหมือนสูง เมื่อเทียบกับโค้ก แต่ความเป็นจริงแล้วกลับทำให้เวลส์  ฟาร์โกเป็นธนาคารดีที่สุดติดอันดับ 1 ใน 5 ของอเมริกา ซึ่งมีอัราส่วนการจ่ายดอกเบี้ยต่ำที่สุดและน่าสนใจที่สุด  นอกจากนี้ เวลส์ ฟาร์โกยังเป็นธนาคารเดียวที่มีความมั่นคงระดับ AAA จากการจัดอันดับของสแตนดาร์ดแอนด์พัวร์สด้วย

         อัตราส่วนของดอกเบี้ยจ่ายต่อรายได้จากการดำเนินกิจการยังเป็นตัวบ่งชี้อย่างดีถึงระดับความอันตรายของเศรษฐกิจที่บริษัทจัดอยู่ด้วย  ตัวอย่างเช่น ธนาคารวาณิชธนกิจซึ่งมีดอกเบี้ยจ่ายราว 70% ของรายได้จากการดำเนินกิจการ  คนที่มีสายตาละเอียดจะเน้นว่า ในปี 2006 แบร์ สเติร์นส์  รายงานว่าบริษัทมีดอกเบี้ยจ่าย 70% ของรายได้จากการดำเนินกิจการ  แต่เมื่อถึงไตรมาสสิ้นสุด  ณ  เดือนพฤศจิกายน 2007 อัตราการจ่ายดอกเบี้ยต่อรายได้จากการดำเนินกิจการได้กระโดยสูงขึ้นถึง 230% ซึ่งหมายความว่า  บริษัทต้องนำเงินจากส่วนผู้ถือหุ้นมาโปะตรงส่วนต่างนี้  การทำเช่นนี้ในบริษัทที่มีการดำเนินธุรกิจที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันสูงเช่น แบร์ สเติร์นส์  หมายถึงหายนะ  และเพียงเดือนมีนาคม 2008 แบร์  สเติร์นที่เคยยิ่งใหญ่  ซึ่งก่อนหน้านี้ 1 ปี มีราคาซื้อขายในตลาดสูงถึง $170 เหรียญต่อหุ้น  ก็ถูกบังคับให้ควบรวมกับเจพี  มอร์แกน เชส แอนด์ โค ในราคาเพียงหุ้นละ $10 เหรียญเท่านั้น

         กฏในบทนี้ธรรมดามาก : ในทุกอุตสาหกรรม  บริษัทที่มีอัตราส่วนดอกเบี้ยจ่ายต่อรายได้การดำเนินธุรกิจต่ำที่สุดมักจะเป็นบริษัทที่มีความสามารถในการแข่งขัน  และในโลกของวอร์เรน  บัฟเฟตต์  การลงทุนในบริษัทที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน  เป็นหนทางเดียวที่สามารถรับรองได้ว่าจะนำไปสู่ความร่ำรวยได้ในระยะยาว

ค่าใช้จ่ายในการวิจัยพัฒนาและค่าเสื่อมราคา การตีความงบการเงิน


การวิจัยและพัฒนา : ทำไมวอร์เรน บัฟเฟตต์จึงถอยห่าง

        นี่คือค่าใช้จ่ายสำคัญเมื่อจะค้นหาบริษัที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน  สิ่งที่ดูเหมือนจะเป็นความได้เปรียบในระยะยาวของบริษัทมักจะเป็นข้อได้เปรียบซึ่งบริษัทได้จากลิขสิทธิบัตรหรือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  แต่หากบริษัทมีข้อได้เปรียบจากลิขสิทธิ์เช่น  บริษัทยา ฎ จุดหนึ่งสิทธิบัตรจะหมดอายุ และความได้เปรียบของบริษัทก็จะหมดไป
        หากความได้เปรียบของบริษัทเป็นผลจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีบางอย่าง  ความน่ากลัวคือ  เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่เข้ามาแทนที่  นี่เป็นสาเหตุที่ทำไมไมโครซอฟท์จึงกลัวความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของกูเกิ้ลหนักหนา  ...เพราะความได้เปรียบในวันนี้อาจเป็นความล้าสมัยในวันพรุ่งนี้ได้

        ไม่เพียงแต่บริษัทเหล่านี้ต้องใช้จ่ายเงินมหาศาลกับการวิจัยและพัฒนาเท่านั้น  แต่พวกเขายังต้องประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์ใหม่  ออกแบบผลิตภัณฑ์ใใหม่  และปรับแผนการขายอยู่เสมอ  ซึ่งหมายความว่าต้องมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขายและการบริหารสูงมากด้วย  เราจะมาพิจารณาบริษัทเหล่านี้กัน : บริษัทยา เมิร์ค  ต้องใช้ 29% ของกำไรขั้นต้นในการวิจัยและพัฒนา และ 49% ของกำไรขั้นต้นกับค่าใช้จ่ายในการขาย/ทั่วไป/และบริหาร (SGA) ซึ่งรวมกันแล้วกินกำไรขั้นต้นไปถึง 78% ยิ่งกว่านั้นหากเมิร์คไม่สามารถพัฒนายาตัวใหม่ที่สามารถขายได้หลายพันล้านเหรียญ  บริษัทก็จะสูญเสียความได้เปรียบในการแข่งขันเมื่อสิทธิบัตรยาที่มีอยู่หมดอายุลงด้วย

         อินเทล  ผู้นำด้านเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วต้องใช้เงิน 30% ของกำไรขั้นต้นกับการวิจัยและพัฒนาอย่างสม่ำเสมอหาไม่แล้วบริษัทก็จะสูญเสียความได้เปรียบในการแข่งขันในเวลาเพียงสองสามปีเท่านั้น  

         มูดีส์  บริษัทจัดอันดับพันธบัตร  เป็นบริษัทคู่ใจของวอร์เรน บัฟเฟตต์ มานานด้วยเหตุผลที่ดี คือ มูดี้ส์ไม่มีค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนา  และมีค่า  SGA เพียง 25% ของกำไรขั้นต้นเท่านั้น  โคคา-โคล่าซึ่งไม่มีค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาเช่นกัน  แต่ต้องโฆษณาสินค้าอย่างบ้าคลั่ง  เฉลี่ยแแล้วมีค่า SGA เพียง 59% ของกำไรขั้นต้นเท่านั้น  กับบริษัทเช่นมูดี้ส์และโคคา - โคล่า  วอร์เรนไม่ต้องนอนตาโพลงตลอดคืนด้วยความกังวลว่า  สิทธิบัตรยากำลังจะหมดอายุ  หรือว่าเทคโนโลยีใหม่ของบริษัทจะไม่ชนะในการแข่งขันรอบต่อไป 

        และนี่คือกฏของวอร์เรน : บริษัทที่ต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมากในการวิจัยและพัฒนา  มีข้อด้วยแฝงอยู่ในความได้เปรียบในการแข่งขัน  ที่จะทำให้เศรษฐกิจระยะยาวของธุรกิจมีความเสี่ยงอยู่เสมอ  ซึ่งหมายความว่าความได้เปรียบนั้นไม่ใช่ "ของตาย"  และอะไรที่ไม่ใช่ของตาย  วอร์เรนไม่สนใจเด็ดขาด


ค่าเสื่อมราคา : ต้นทุนที่วอร์เรน  บัฟเฟตต์มิอาจเพิกเฉย 

         เครื่องจักรทุกตัว  อาคารทุกหลัง  ล้วนต้องชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลา  และความชำรุดทรุดโทรมนี้จะปรากฏในงบกำไรขาดทุนในรูปของ ค่าเสื่อมราคา  โดยทั่วไป  จำนวนเงินที่เสื่อมไปในช่วงปีหนึ่งของสิ่งใดก็ตาม  คือค่าใช้จ่ายที่จัดสรรตามรายรับในปีนั้น ซึ่งนับว่ามีเหตุผลดี  เพราะว่าค่าความเสื่อมของสินทรัพย์  สามารถพูดได้ว่าเกิดจากการใช้สินทรัพย์นั้นๆ ในกิจกรรมของธุรกิจซึ่งก่อให้เกิดรายรับ
     
         ตัวอย่างเช่น : ให้เรานึกถึงภาพบริษัท XYZ การพิมพ์ ซึ่งซื้อแท่นพิมพ์ราคา 1 ล้านดอลลาร์  ซึ่งมี่อายุการใช้งาน 10 ปี เนื่องจากอายุใช้งาน 10 ปี สรรพากรจะไม่ยอมให้บริษัทตัดค่าใช้จ่ายทั้งหมด $1 ล้านในปีที่ซื้อปีเดียว  แต่ต้องกระจายค่าแท่นพิมพ์ออกเป็นเวลา 10 ปีตามที่ใช้งานด้วยอายุการใช้งานของแท่นพิมพ์ 10 ปี  และต้นทุนแรกเริ่ม $1 ล้าน  หมายความว่า บริษัท XYZ จะต้องตัดค่าเสื่อมราคาของแท่นพิมพ์ในอัตรา $100,000 ต่อปี  ค่าเสื่อมราคาคือต้นทุนจริงในการทำธุรกิจ  เพราะว่า ณ จุดหนึ่งในอนาคต  แท่นพิมพ์นี้จะต้องถูกปลดระวางและมีแท่นใหม่มาแทน 

         การซื้อแท่นพิมพ์นี้จะปรากฏในงบดุล คือ บัญชี เงินสด จะถูกหักออก $1 ล้าน ไปปรากฏเพิ่มที่บัญชี  โรงงานและเครื่องจักร $1 ล้าน จากนั้นในอีก 10 ปีข้างหน้า คือเสื่อมราคา $100,000 ต่อปี  จะปรากฏเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน  ส่วนในงบดุล แต่ละปี $100,000 จะถูกหักจากส่วนสินทรัพย์ในรายการ โรงงานแลเครื่องจักร ในขณะที่ในส่วนหนึ่้สิน ค่าเสื่อมราคาสะสม จะเพิ่มขึ้น $100,000 จำนวนเงินสด $1 ล้าน เหรียญ  ที่ใช่้ไปจริงในการซื้อแท่นพิมพ์จะไปปรากฏในงบกระแสเงินสดในรายการ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการลงทุน  เราขอย้ำว่าค่าแท่นพิมพ์ 1 ล้านเหรียญ ไม่ได้ถูกหักเป้นค่าใช้จ่ายในปีที่ซื้อทั้งหมด แต่กระจายออกเป็นค่าเสื่อมราคาในงบกำไรขาดทุนปีละ $100,000 ทบกับเป็นเวลา 10 ปี

          การทำเช่นนี้ทำให้พ่อมดการเงินชาววอลล์สตรีททั้งหลายได้กลอุบายบางอย่าง คือ พวกเขาพบว่าทันทีที่มีการซื้อแท่นพิมพ์และจ่ายเงินเรียบร้อย  จะไม่มีการจ่ายเงินสดให้กับค่าเสื่อมราคาปีละ $100,000  อีก แต่มันยังคงทำให้รายได้ที่รายงานต่อสรรพากรลดลงทุกปีเป็นเวลา 10 ปี ซึ่งหมายความว่า เมื่อมองในระยะสั้น บริษัท XYZ มีค่าใช้จ่ายประจำปี  แต่ในความเป็นจริงค่าใช้จ่ายเงินสดไม่ได้เพิ่มขึ้นเลย  ด้วยเหตุนี้ พ่อมดการเงินชาววอลล์สตรีทจึงสามารถเพิ่มค่าใช้จ่าย $100,00 กลับเข้าไปในรายได้ ซึ่งหมายความว่ากระแสเงินสดของธุรกิจในตอนนี้สามารถรองรับหนี้สินสำหรับการซื้อธุรกิจด้วยเงินกู้ (leveraged buyout) ของนักเก็งกำไรได้  วอลล์สตรีทมีตัวย่อสำหรัรบการคำนวณรายได้เหล่านี้กลับไปใหม่ว่า EBITDA ซึ่งมาจาก Earnings Before Income Taz,Depreciation, and Amortization หรือ รายได้ก่อนหักภาษี  ค่าเสื่อมราคา  และค่าตัดจำหน่าย

          วอร์เรน  บัฟเฟตต์บอกว่าเมื่อชาววอลล์สตรีทหัวใสนำ EBITDA มาใช้โดยไม่สนใจว่าในที่สุดแท่นพิมพ์นั้นจะชำรุดจนใช้ไม่ได้อีกต่อไป และบริษัทจะต้องหาเงินอีก $1 ล้านเหรียญ  มาซื้อแท่นใหม่ แต่บริษัทกลับมีภาระหนี้สินก้อนโตที่มาจากการซื้อธุรกิจด้วยเงินกู้  ทำให้ไม่มีความสามารถในการจ่ายเงิน $1 ล้าน เพื่อซื้อแท่นพิมพ์ใหม่อีก

          วอร์เรน บัฟเฟตต์เชื่อว่าค่าเสื่อมราคาเป็นค่าใช้จ่ายจริง และต้องถูกนำมารวมในการคำนวณหารายได้เสมอ  หากไม่เช่นนั้นแล้ว เท่ากับเรากำลังหลอกตัวเองในระยะสั้นให้เชื่อว่า  ธุรกิจกำลังทำรายได้มากกว่าความเป็นจริง และไม่มีใครรวยขึ้นมาจากการหลอกตัวเองได้

           สิ่งที่วอร์เรน  บัฟเฟตต์ได้พบก็คือ  บริษัทที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนมีแนวโน้มที่จะมีค่าเสื่อมราคาเมื่อเทียบเป็นอัตราร้อยละกับกำไรขั้นต้นต่ำกว่าบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากการแข่งขันรุนแรง  ตัวอย่างเช่น โคคา-โคล่าซึ่งมีค่าเสื่อมราคาประมาณ 6% ของกำไรขั้นต้นอย่างสม่ำเสมอ  และริกลี่ย์  บริษัทที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนอีก 1 บริษัทก็อยู่ที่ประมาณ 7%  เช่นกัน ในขณะที่พร็อคเตอร์แอนด์แกมเบิลบริษัทคู่ใจของวอร์เรนมานานอีกแห่งมีรค่าใช้จ่ายนี้ประมาณ 8% ...ตรงกันข้ามกับจีเอ็ม  ซึ่งอยู่ในธุรกิจที่ต้องมีการลงทุนสูงและมีการแข่งขันสูงซึ่งมีค่าเสื่อมราคาอยู่ที่ระหว่าง 22% ถึง 57% ของกำไรขั้นต้น

          เช่นเดียวกับค่าใช้จ่ายทุกชนิดที่กัดกร่อนกำไรขั้นต้นของบริษัท  วอร์เรน บัฟเฟตต์พบว่า  ยิ่งน้อยตัวเลขของกำไรที่ปรากฏในบรรทัดสุดท้ายของงบก็จะยิ่งมากเสมอ

ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการ การขาย และการบริหาร การตีความงบการเงิน วอร์เรน บัฟเฟตต์


ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการ : วอร์เรน  บัฟเฟตต์ จะจับตาดูอย่างระมัดระวัง

        แถวถัดลงมาจากกำไรขั้นต้นในงบกำไรขาดทุน  คือกลุ่มของค่าใช้จ่ายซึ่งเรียกว่า  ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการ  ค่าใช้จ่ายเหล่านี้คือค่าใช้จ่ายสำคัญเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่  ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารงาน  ค่าใช้จ่ายในการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด  ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย  ค่าปรับปรุงโครงสร้างและการด้อยค่าของทรัพย์สิน  และค่าใช้จ่าย "อื่นๆ" ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายจิปาถะต่างๆ ทั้งค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่จากการดำเนินกิจการ และค่าใช้จ่ายพิเศษที่เกิดขึ้นครั้งเดียว

         รายการเหล่านี้รวมกันเป็น "รวมค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการ"  ของบริษัท  ซึ่งจะนำมาหักออกจากกำไรขั้นต้นเพื่อที่จะได้ตัวเลขกำไรหรือขาดทุนจากการดำเนินกิจการของบริษัท  เนื่องจากรายการเหล่านี้ทุกรายการล้วนมีผลกระทบต่อธรรมชาติของเศรษฐกิจของธุรกิจในระยะยาว  เราจะมาดูรายการเหล่านี้ทีละรายการอย่าเจาลึกตามสไตล์ของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ กันต่อไป


ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขาย, ทั่วไป  และการบริหาร 

       ในงบกำไรขาดทุน  ภายใต้หัวข้อ ค่าใช้จ่ายในการขาย (Selling), ทั่วไป (General), และการบริหาร (Administrative Expense) หรือ SGA ที่ซึ่งบริษัทรายงานค่าใช้จ่ายในการขาย  ค่าใช้จ่ายทั่วไป และค่าใช้จ่ายในการบริหารทั้งที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือโดยอ้อม  ในรอบบัญชีนั้นๆ ค่าใช้จ่ายเหล่านี้รวมถึง  เงินเดือนของผู้บริหาร ค่าโฆษณา  ค่าเดินทาง ค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับกฏหมาย  ค่าคอมมิสชั่น  ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเงินเดือนทั้งหมด และอื่นๆ 

       ในบริษัทเช่นโคคา-โคล่า  ค่าใช้จ่ายเหล่านี้อาจสูงเป็นพันล้านและมีผลกระทบมหาศาลต่อกำไรสุทธิของบริษัท  หากคิดเป็นอัตราส่วนร้อยละต่อกำไรขั้นต้นแล้ว ตัวเลขค่าใช้จ่ายเหล่านี้ในแต่ละธุรกิจจะต่างกันอย่างมาก  แม้แต่ในระหว่างบริษัทที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนแบบโคคา -โคล่า ตัวเลขค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็ยังแตกต่างกัน โคคา-โคล่า มีตัวเลขค่าใช้จ่าย SGA เฉลี่ย 59% ของกำไรขั้นต้นอย่างสม่ำเสมอ บริษัทอย่างมูดี้ส์มีตัวเลขเฉลี่ยที่ 25% อย่างสม่ำเสมอ  และพร็อคเตอร์แอนด์แกมเบิลอยู่ที่ราว 61% อย่างสม่ำเสมอ  ณ จุดนี้ คำว่า "สม่ำเสมอ"  คือหัวใจสำคัญ

     บริษัทที่ไม่มีความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืนจะได้รับผลกระทบจากการแข่งขันที่รุงแรง และมีตัวเลขค่าใช้จ่าย SGA ต่างกันอย่างมากเมื่อเทียบเป็นอัตราร้อยละต่อกำไรเบื้องต้น  ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา  จีเอ็มมีค่า SGA เพิ่มจาก 28%  เป็น 83% ฟอร์ดมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ในช่วง 5 ปีตั้งแต่ 83% ถึง  780% ซึ่งหมายความว่าบริษัทกำลังสูญเสียเงินอย่างใหญ่หลวง  ปัญหาของบริษัทก็คือเมื่อยอดขายเริ่มตก  ซึ่งหมายความว่ารายได้ตกลงด้วย  แต่ค่าใช้จ่ายในการขายทั่วไป  และการบริหารยังคงอยู่  หากบริษัทไม่สามารถตัดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้เร็วพอ  กำไรเบื้องต้นจะเริ่มถูกกินลึกลงไปเรื่อยๆ

     ในการค้นหาบริษัทที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืนบริษัทที่มีค่าใช้จ่ายการขาย  ทั่วไป  และการบริหารยิ่งต่ำจะยิ่งดี  และหากสามารถคงความต่ำอย่างสม่ำเสมอก็จะดียิ่งขึ้นอีก  อย่างไรก็ตาม มีบริษัทจำนวนหนึ่งที่มีความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันอย่างยั่งยืน แต่มีค่า SGA อยู่ในระหว่าง 30% ถึง 80% ด้วยเช่นกัน  แต่ถ้าหากเราเห็นบริษัทที่มีค่า SGA ใกล้เคียง หรือมากกว่า 100% ซ้ำแล้วซ้ำเล่า  หมายความว่าเรากำลังเล่นอยู่กับบริษัทซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูงมาก  ทำให้ไม่มีบริษัทใดสามารถมีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนได้

        นอกจากนี้  ยังมีบริษัทที่มีค่าใช้จ่ายการขาย  ทั่วไป  และบริหารต่ำหรือปานกลาง แต่ทำลายเศรษฐกิจของธุรกิจในระยะยาวที่ดีเยี่ยมของตนด้วยค่าใช้จ่ายมหาศาลในการค้นคว้าพัฒนา ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทุนและ/หรือค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยกับหนี้ก้อนโตด้วย

        อินเทลคือตัวอย่างที่ดีมากของบริษัที่มีอัตราร้อยละของค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขาย ทั่วไป และบริหาร ต่อกำไรขั้นต้นในระดับต่ำ แต่เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายในการค้นคว้าพัฒนาสูง  ทำให้เศรษฐกิจระยะยาวของธุรกิจลดต่ำเหลือเพียงปานกลางเท่านั้น  แต่ถ้าหากอินเทลหยุดค้นคว้าวิจัย  ผลิตภัณฑ์รุ่นที่มีอยู่ในปัจจุบันก็จะล้าสมัยใน 10 ปีข้างหน้าและต้องเลิกธุรกิจ  

        ยางกู๊ดเยี่ยร์มีอัตราร้อยละค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขาย  ทั่วไป และบริหารต่อกำไรขั้นต้น 72% แต่ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทุนและดอกเบี้ย (จากหนี้ซึ่งนำมาชำระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทุน) ฉุดให้ผู้ผลิตยางรายนี้ขาดทุนทุกครั้งที่เศรษฐกิจถดถอย  แต่ถ้าหากว่ากู๊ดเยี่ยร์ไม่สร้างหนี้เพื่อนำไปชำระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทุนและปรับปรุงบริษัท  กู๊ดเยียร์ก็ไม่อาจคงความสามารถในการแข่งขันได้นาน

      วอร์เรน บัฟเฟตต์ เรียนรู้ที่จะอยู่ห่างจากบริษัทต้องสาปด้วยค่าใช้จ่ายการขาย  ทั่วไป  และบริหารสูงอย่างสม่ำเสมอ  เรายังรู้อีกว่าเศรษฐกิจของบริษัทที่มีค่า SGA ต่ำ  สามารถถูกทำลายลงด้วยค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนา  และค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับทุนที่สูง  และ/หรือหนี้ก้อนโต  วอร์เรน  บัฟเฟตต์จะหลีกเลี่ยงธุรกิจประเภทนี้ไม่ว่าราคาจะเท่าใดก็ตาม  เพราะเขาทราบว่าเศรษฐกิจในระยะยาวของบริษัทเหล่านี้จะแย่มากโดยธรรมชาติ  ที่แม้แต่ราคาขายถูกๆ ก็ไม่ทำให้นักลงทุนรอดพ้นจากผลประกอบการ "งั้นๆ" ตลอดอายุขัยของธุรกิจได้

กำไรขั้นต้น / ส่วนต่างกำไรขั้นต้น การตีความงบการเงิน วอร์เรน บัฟเฟตต์


กำไรขั้นต้น/ส่วนต่างกำไรขั้นต้น  ตัวเลขสำคัญสำหรับวอร์เรนในการค้นหาขุมทองในระยะยาว

           ตอนนี้หากเรานำตัวเลขที่บริษัทรายงานว่าคือ  ต้นทุนสินค้าขายมาหักจากยอด  รวมรายได้ ของบริษัท  เราจะได้กำไรขั้นต้น  ตัวอย่าง เช่น : ยอดรวมรายได้ $10 ล้าน  ลบต้นทุนสินค้าขาย $7 ล้าน เท่ากับกำไรขั้นต้น $3 ล้าน

            กำไรขึ้นต้น  คือเงินที่บริษัททำได้จากรายได้ขั้นต้นหลังจากหักต้นทุนของวัตถุดิบและแรงงานที่ใช้ในการทำสินค้าแล้ว  แต่ยังไม่รวมค่าใช้จ่าย  เช่น  ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร  ค่าเสื่อมราคา และต้นทุนของดอกเบี้ยในการดำเนินธุรกิจ  

             ตัวเลขกำไรขั้นต้นเพียงตัวเดียวบอกอะไรได้น้อยมาก  แต่เราสามารถนำตัวเลขนี้มาคำนวณส่วนต่างกำไรขั้นต้นของบริษัท  ซึ่งจะบอกให้เราได้ทราบอะไรบางอย่างเกี่ยวกับธรรมชาติของเศรษฐกิจของบริษัทนั้นๆ ได้อย่างดี  สมการในการหาส่วนต่างกำไรขั้นต้น คือ

            กำไรขั้นต้น / ยอดรวมรายได้ = ส่วนต่างกำไรขั้นต้น 

            สำหรับวอร์เรน  บัฟเฟตต์  สิ่งที่เขามองหาคือ  บริษัที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนบางอย่าง  หรือธุรกิจที่เขาสามารถทำกำไรได้ในระยะยาว  และสิ่งที่เขาพบก็คือ  บริษัทที่มีเศรษฐกิจยอดเยี่ยมที่ได้เปรียบในระยะยาวมักจะมีส่วนต่างกำไรขั้นต้นสูงอย่าง สม่ำเสมอ กว่าบริษัทอื่น เราจะยกตัวอย่างใหคุณดู

           ส่วนต่างรายได้ขั้นต้นของบริษัทที่วอร์เรน บัฟเฟตต์ บ่งชี้แล้วว่ามีข้อได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนรวมถึง : โคคา - โคล่า ซึ่งมีส่วนต่างกำไรขั้นต้น 60% หรือมากกว่าให้เห็นอย่างสม่ำเสมอ  บริษัทจัดอันดับพันธบัตรมูดี้ส์  มีส่วนต่าง 73% เดอะ  เบอร์ลิงตัน นอร์ทเธิร์น ซานตาเฟ เรลเวย์ 61% และบริษัทเคี้ยวมันอย่างหมากฝรั่งริกลี่ย์ 51% 

           จากการเปรียบเทียบธุรกิจชั้นยอดเหล่านี้กับบริษัทอื่นๆ ทำให้เราทราบถึงความแตกต่าง  บริษัทที่มีเศรษฐกิจของธุรกิจไม่ดีนักในระยะยาว เช่น สายการบินยูไนเต็ด  ที่ล้มละลายฟื้นๆ ฟุบๆ เป็นประจำ  มีส่วนต่างกำไรขั้นต้น 14% บริษัทผลิตรถยนต์เจนเนอรัล มอเตอร์สที่กำลังประสบปัญหาทำได้ 21% แบบหืดขึ้นคอ, ยูเอส สตีล บริษัทซึ่งเริ่มทำกำไรได้แล้วแต่ยังไม่แข็งแกร่งนักมี 17% และยางกู๊ดเยียร์ ที่วิ่งได้ในทุกสภาพอากาศ  แต่ในเศรษฐกิจที่ไม่ดีนักเริ่มวิ่งไม่ออก  มีตัวเลขที่ไม่น่าประทับใจนักที่ 20% 
      
          ธุรกิจเทคโนโลยีคือธุรกิจที่วอร์เรน บัฟเฟตต์ ขออยู่ห่างๆ เพราะว่าเขาไม่เข้าใจ  แม้ไมโครซอฟท์จะมีส่วนต่างกำไรขั้นต้นสม่ำเสมอสูงถึง 79% ขณะที่แอปเปิ้ลอยู่ที่ 33% ตัวเลขร้อยละนี้ชี้ให้เห็นว่า ไม่โครซอฟท์มีเศรษฐกิจที่ดีกว่าจากการขายระบบปฏิบัติการและซอฟแวร์  เทียบกับแอปเปิ้ลซึ่งขายฮาร์ดแวร์และบริการ

           สิ่งที่สร้างส่วนต่างกำไรขั้นต้นสูงให้กับบริษัทคือ  ความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน  ซึ่งทำให้บริษัทมีอิสระในการกำหนดราคาผลิตภัณฑ์และบริการที่จำหน่ายสูงกว่าต้นทุนสินค้าขายได้มาก  หากไม่มีข้อได้เปรียบในการแข่งขัน  บริษัทจะต้องต่อสู้กับคู่แข่งด้วยการลดราคาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ขาย  ซึ่งทำให้ส่วนต่างกำไรและความสามารถในการทำกำไรของบริษัทลดลงด้วยอย่างแน่นอน

          ดังนั้น จึงเป็นกฏธรรมดามาก (และมีข้อยกเว้น) ว่า : บริษัทซึ่งมีส่วนต่างกำไรขั้นต้น 40% หรือมากกว่า  มีแนวโน้มที่จะเป็นบริษัทที่มีข้อได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนประการใดประการหนึ่ง  ในขณะที่บริษัทที่มีตัวเลขน้อยกว่า 40% มีแนวโน้มที่จะอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูง  ซึ่งการแข่งขันส่งผลกระทบต่อส่วนต่างกำไรโดยรวม (นี่ก็มีข้อยกเว้นด้วยเช่นกัน)  ส่วนต่างกำไรขั้นต้น 20% หรือน้อยกว่า มักเป็นตัวบ่งชี้ที่ดีว่าอุตสาหกรรมนั้นๆ มีการแข่งขันที่ดุเดือด  และไม่มีบริษัทใดในอุตสาหกรรมนี้ที่สามารถสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันที่ยั่งยืนเหนือคู่แข่งได้  และบริษัทในอุตสหกรรมที่มีการแข่งขันสูงซึ่งไม่มีข้อได้เปรียบในการแข่งขันใดๆ ไม่มีวันจะทำให้เรารวยได้ในระยะยาว 

           ในขณะที่ส่วนต่างกำไรขั้นต้นไม่ได้เป็นหลักประกันว่าบริษัทจะรอบพ้นจากความล้มเหลว  แต่ก็เป็นเครื่องบ่งชี้ตัวแรกๆ ว่าบริษัทมีข้อได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนและมีความสม่ำเสมอ  วอร์เรน บัฟเฟตต์ เน้นคำว่า "ยั่งยืน" เป็นอย่างมาก  ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย  เราจึงควรตรวจสอบตัวเลขส่วนต่างกำไรขั้นต้นของบริษัทในช่วง 10 ปีล่าสุด  เพื่อความมั่นใจว่าบริษัทมีความ "สม่ำเสมอ" วอร์เรนทราบว่า  เมื่อเราจะค้นหาบริษัทที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน "ความสม่ำเสมอ" คือหัวใจของเกมนี้

           ตอนนี้เราจะพูดถึงสาเหตุหลายประการที่ทำให้บริษัทซึ่งมีส่วนต่างผลกำไรสูงหลงทาง  ทำให้บริษัทสูญเสียความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาว  
  1. คือต้นทุนการค้นคว้าที่สูงลิ่ว
  2. บริษัทมีต้นทุนการขายและการบริหารสูง
  3. ต้นทุนดอกเบี้ยจากหนี้ของบริษัทสูง  
           ค่าใช้จ่าย 1 ใน 3  ตัวนี้สามารถทำความเสียหายให้กับเศรษฐกิจของธุรกิจได้ในระยะยาว  ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายเหล่านี้เรียกว่า  ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจการ ซึ่งเป็นเสมือนหนามยอกอกของทุกธุรกิจ


รายได้ และต้นทุนขาย การตีความงบการเงิน วอร์เรน บัฟเฟตต์




   รายได้  : ที่ซึ่งเงินเข้า

          บรรทัดแรกในงบกำไรขาดทุนจะเป็น ยอด รวมรายได้หรือรายได้ขั้นต้น  ซึ่งคือจำนวนเงินที่เข้ามาในบริษัทในช่วงเวลาหนึ่งๆ ซึ่งอาจเป็นไตรมาสหรือปี  หากเราผลิตรองเท้า และขายรองเท้าได้ $120 ล้าน ในปีนั้น  งบกำไรขาดทุนของเราจะรายงานว่า ยอด รวมรายได้ เท่ากับ 120 ล้าน สำหรับปีนั้น

          ตอนนี้  ความจริงที่ว่าบริษัทมีรายได้มากไม่ได้หมายความว่าวายได้ที่เข้ามาเป็นกำไร  ในการดูว่าบริษัทมีกำไรเท่าใด  จะต้องนำต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่างๆ ของธุรกิจมาหักจากยอดรวมรายได้  รายได้ลยค่าใช้จ่ายเท่ากับรายได้สุทธิ  อย่างไรก็ตาม  รายได้รวมตัวเดียวไม่ได้บอกอะไรเลยจนกว่าจะหักค่าใช้จ่ายออก และดูว่ารายได้สุทธิมีจำนวนเท่าใด

          หลังจากที่วอร์เรนดูยอดรวมรายได้ของธุรกิจแล้ว  เขาจะเริ่มพิจารณาด้นทุนค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด  เพราะเขารู้ว่าหนึ่งในความลับที่ยิ่งใหญ่ของการทำเงินให้ได้มากขึ้นคือ  การใช้จ่ายน้อยลง

  

  ต้นทุนขาย : สำหรับวอร์เรน บัฟเฟตต์  ยิ่งต่ำยิ่งดี

         ในงบกำไรขาดทุน  รายการที่อยู่ถัดจากยอดรวมรายได้คือ  ต้นทุนสินค้าขาย  หรือที่รู้จักอีกชื่อว่า ต้นทุนรายได้  ต้นทุนสินค้าขายคือต้นทุนของสินค้าที่บริษัทซื้อมาเพื่อขาย  หรือต้นทุนของวัสดุและแรงงานที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ขายก็ได้  หากธุรกิจของบริษัทเกี่ยวกับการให้บริการไม่ใช่การขายผลิตภัณฑ์ มักจะใช้ "ต้นทุนของรายได้" แทน "ต้นทุนสินค้าขาย" แต่ที่สุดแล้วคือสิ่งเดียวกัน  เพียงแต่ตัวหนึ่งมีความหมายครอบคลุมกว่าเล็กน้อยเท่านั้น  สิ่งที่เราต้องทำคือ  ตรวจสอบให้แน่นอนว่าบริษัทรวมอะไรเข้าไปในการคำนวณต้นทุนการขายหรือต้นทุนของรายได้บ้าง  ซึ่งจะทำให้ทราบได้ว่าผู้บริหารของบริษัทคิดอย่างไรกับธุรกิจของพวกเขา

        ตัวอย่างง่ายๆ ที่จะแสดงให้เห็นถึงวิธีการคำนวณต้นทุนสินค้าของบริษัทเฟอร์นิเจอร์บริษัทหนึ่งคือ : เริ่มจากต้นทุนของเฟอร์นิเจอร์ในสินค้าคงคลังของบริษัท  ณ ต้นปี  บวกต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เพิ่มเข้ามาในสินค้าคงคลังระหว่างปี  แล้วลบด้วยมูลค่าเงินสดของสินค้าคงคลัง ณ สิ้นปี  เพราะฉะนั้น หากบริษัทเริ่มต้นปีโดยมีสินค้าคงคลังมูลค่า  $10 ล้าน ซื้อสินค้าเข้ามาเพิ่มในสินค้าคงคลัง $2 ล้าน และเมื่อถึงปลายปีมูลค่าของสินค้าคงคลังเท่ากับ $7 ล้าน  หมายความว่าบริษัทนั้นๆ มีต้นทุนสินค้าขาย $ 5 ล้านเหรียญ  สำหรับงวดบัญชีนั้นๆ  
       แม้ว่าต้นทุนสินค้าขายเพียงตัวเดียวจะไม่ได้บอกอะไรมากว่าบริษัทมีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนหรือไม่  แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้ทราบถึงกำไรขั้นต้นของธุรกิจ  ซึ่งเป็นตัวเลขสำคัญในการช่วยให้วอร์เรนตัดสินว่า  บริษัทนั้นๆ มีความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาวหรือไม่  เราจะมาพูดถึงเรื่องนี้กันในครั้งต่อไป

งบกำไรขาดทุน การตีความงบการเงิน วอร์เรน บัฟเฟตต์

     

          ในการค้นหาบริษัทชั้นยอดที่มีความได้เปรียบในการแข่'ขันที่ยั่งยืน  วอร์เรน  บัฟเฟตต์จะเริ่มที่งบกำไรขาดทุนของบริษัทเสมอ  งบกำไรขาดทุนบอกให้นักลงทุนทราบถึงผลการดำเนินธุรกิจของบริษัทในช่วงเวลาหนึ่งๆ ตามธรรมเนียมปฏิบัติ  บริษัทจะจัดทำงบกำไรขาดทุนทุก 3 เดือนและตอนสิ้นปี  งบกำไรขาดทุนจะใส่ช่วงเวลาที่ครอบคลุมเสมอ  เช่น 1 มกราคม 2007 ถึง 31 ธันวาคม 2007

       งบกำไรขาดทุนมีส่วนประกอบพื้นฐาน 3 ส่วน คือ : หนึ่ง  ส่วนรายได้ของบริษัท  ตามด้วยส่วนค่าใช้จ่าย  ซึ่งจะถูกหักออกจากรายได้และบอกว่าบริษัทได้กำไรหรือขาดทุน  ฟังดูง่ายๆ ใช่มั้ย? มันง่ายจริงๆ นั่นแหล่ะ

         ในยุคแรกของการวิเคราะห์หุ้น  นักวิเคราะห์ชั้นนำในสมัยนั้น เช่น เบนจามิน  เกรแฮม  อาจารย์ของวอร์เรน  บัฟเฟตต์  จะเน้นที่การดูว่าบริษัทสามารถทำกำไรได้หรือไม่อย่างเดียว  ให้ความสนใจน้อยมากหรือไม่ให้เลยกับความสามารถในการเจริญเติบโตในอนาคตของแหล่งรายได้  อย่างที่เราได้พูดไว้ก่อนหน้านี้ว่า  เกรแฮมไม่สนใจว่าบริษัทนั้นทำธุรกิจที่ไม่ธรรมดาที่มีความได้เปรียบทางเศรษฐกิจดีเยี่ยม  หรือเป็นเพียงหนึ่งในธุรกิจธรรมดาทั่วไปที่กำลังดิ้นรนเพื่อความอยู่รอด  เกรแฮมสามารถตัดสินใจซื้อบริษัทห่วยๆ ทันทีที่เขาคิดว่าราคาของมันถูกพอ

          หนึ่งในความเข้าใจอย่างลึกซึ่งของวอร์เรนคือ การที่เขาแบ่งโลกของธุรกิจออกเป็น 2 กลุ่ม คือ บริษัทที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันระยะยาวและยั่งยื่นเหนือคู่แข่ง  บริษัทเหล่านี้คือบริษัทที่เขายอมซื้อในราคาที่เหมาะสมหรือแพงกว่าเล็กน้อย  ซึ่งสามารถทำให้เขารวยล้นได้เมื่อเก็บมันไว้นานพอ  อีกกลุ่มหนึ่งคือ พวกธุรกิจธรรมดาทั่วไปที่ต้องต่อสู้ดิ้นรนกับในตลาดที่มีการแข่งขันสูงปีแล้วปีเล่า  ซึ่งเป้นบริษัที่ไม่ดีต่อการลงทุนระยะยาว

           ในการค้นหาบริษัทชั้นยอด  วอร์เรนพบว่ารายการแต่ละรายการที่ประกอบกันเป็นงบกำไรขาดทุนของบริษัท  สามารถบอกเขาได้ว่าบริษัทนั้นมีความได้เปรียบในการแข่งขันระยะยาวหรือไม่  ไม่เพียงแต่ว่าบริษัทเหล่านั้นจะสามารถทำเงินได้หรือไม่เท่านั้น  แต่ส่วนต่างกำไรเป็นอย่างไร  บริษัทต้องใช้จ่ายกับการค้นคว้าพัฒนาสูงหรือไม่เพื่อที่จะคงความได้เปรียบและต้องใช้ความพยายยามอย่างมากหรือไม่ในการทำกำไร  ปัจจัยเหล่านี้ประกอบกันขึ้นเป็นข้อมูลที่เขาเก็บเกี่ยวได้จากงบกำไรขาดทุน  เพื่อจะเรียนรู้ธรรมชาติของกลไกเศรษฐกิจของบริษัทหนึ่งๆ  ..สำหรัรบวอร์เรน แหล่งที่มาของรายได้สำคัญกว่าตัวรายได้เสมอ

          ในหัวข้อข้างหน้า  เราจะเจาะลึกรายการแต่ละรายการในงบการเงินของบริษัท  และสิ่งที่วอร์เรนมองหา  ที่จะบอกให้เขารู้ว่ามันเป็นธุรกิจที่จะนำเขาไปสู่ความยากจน  หรือธุรกิจทองคำที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันในระยะยาวที่ยั่งยืน  ซึ่งจะทำให้เขาเป็นคนรวยที่สุดในโลกต่อไป

วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

ขุมทองที่ซ่อนอยู่ในงบการเงิน



         วอร์เรน  บัฟเฟตต์ เรียนรู้ว่า "ความยั่งยืน" ของความได้เปรียบในการแข่งขันคือหัวใจสำคัญที่สร้างความมั่งคั่งทั้งมวล  ใน 122 ปีที่ผ่านมา โคคา - โคล่าขายสินค้าตัวเดิม  และเป็นไปได้อย่างมากว่าจะคงขายสินค้าตัวนี้อยู่ในอีก 122 ปีข้างหน้า

         ความสม่ำเสมอ (Consistency) ของผลิตภัฎฑ์นี่เองที่เป็นตัวสร้างกำไรของบริษัทอย่างสม่ำเสมอด้วย  หากบริษัทไม่ต้องเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ตลอดเวลา  บริษัทก็ไม่ต้องเสียเงินนับล้านกับการค้นคว้าวิจัย  ไม่ต้องเสียอีกนับพันล้านในการปรับปรุงโรงงาผลิตสินค้ารุ่นใหม่ของปีหน้าเงินในกำปั่นของบริษัทจึงพอกพูนขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งหมายความว่าบริษัทไม่ต้องแบกภาระหนี้หนักอื้ง ซึ่งหมายถึงการไม่ต้องเสียดอกเบี้ย  และหมายถือการมีเงินมากมายในการขยายธุรกิจหรือซื้อหุ้นคืน  ซึ่งจะเพิ่มรายได้และราคาหุ้นของบริษัท  และทำให้ผู้ถือหุ้นรวยขึ้น

      ดังนั้น เมื่อวอร์เรนดูงบการเงินของบริษัทหนึ่งๆ เขาจึงมองหาความสม่ำเสมอ  คงเส้นคงว่า  บริษัทมีส่วนต่างกำไรสูงอย่างสม่ำเสมอหรือไม่?    บริษัทมีหนี้น้อยหรือไม่มีเลยสม่ำเสมอหรือไม่ ?  บริษัทไม่จำเป็นต้องลงทุนสูงในการค้นคว้าพัฒนาอย่างสม่ำเสมอหรือไม่? บริษัทมีการเติบโตสม่ำเสมอหรือไม่? "ความสม่ำเสมอ" ซึ่งปรากฏในงบการเงินนี่เองที่ทำให้วอร์เรนเห็น "ความยั่งยืน" ของความได้เปรียบในการแข่งขันของบริษัท

       เมื่อวอร์เรนต้องการดูว่าบริษัทใดมีความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันหรือไม่  เขาจะมุ่งไปที่งบการเงินของบริษัท

        งบการเงิน  คือขุมทองที่ซึ่งวอร์เรนเก็บเกี่ยวทองคำแห่งความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน  งบการเงินของบริษัทนี่เองที่บอกเขาว่า เขากำลังมองหาบริษัทธรรมดา  "งั้นๆ" ที่มีผลประกอบการไม่น่าประทับใจตลอดปีตลอดชาติ  หรือบริษัทที่มีวามได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนซึ่งจะทำให้เขารวยมหาศาล

        งบการเงินสำคัญมี 3 ชนิด คือ :
     
         1.  งบกำไรขาดทุน : งบกำไรขาดทุนบอกเราว่า  บริษัททำกำไรเท่าใดในช่วงเวลาหนึ่งๆ ตามธรรมเนียมแล้วนักบัญชีของบริษัทจะจัดทำงบกำไรขาดทุนให้ผู้ถือหุ้นทุก 3 เดือนของปีบัญชี  หรือสำหรับทั้งปีบัญชี  จากงบกำไรขาดทุน  วอร์เรนจะทราบถึงสิ่งต่างๆ เช่น ส่วนต่างกำไรของบริษัท  อัตราส่วนกำไรต่อการลงทุน  และที่สำคัญที่สุดคือ  ความสม่ำเสมอและทิศทางของรายได้  ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้คือสิ่งจำเป็นในการที่จะตัดสินว่า บริษัทหนึ่งๆ ได้ประโยชน์จากความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนหรือไม่

          2.  งบดุล : งบดุลบอกเราว่าบริษัทมีเงินเท่าใดในธนาคารและเป็นหนี้เท่าใด   เมื่อลบหนี้ที่มีออกจากเงินในธนาคาร  เราจะได้มูลค่าสุทธิของบริษัท  บริษัทหนึ่งๆ สามารถจัดทำงบดุลได้ทุกเมื่อที่ต้องการ  ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่าบริษัทมีสินทรัพย์รวมเท่าใด หนี้สินเท่าใด  และมูลค่าที่แท้จริงของบริษัทในวันนั้นๆ เป็นเท่าใด

              ตามธรรมเนียมปฏิบัติ  บริษัทจะจัดทำงบดุลให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกช่วง 3 เดือน (เรียกว่าไตรมาส) และในวันสิ้นปีบัญชี  วอร์เรนเรียนรู้ที่จะใช้รายการบางรายการในงบดุล  เช่น  เงินสดของบริษัท  หรือหนี้สินระยะยาวที่มี  เป็นตัวบ่งชี้ถึงความได้เปรียบในการแข่ขันที่ยั่งยืน ณ ขณะนั้นของบริษัท

         3. งบกระแสเงินสด : งบกระแสเงินสดรวมข้อมูลการไหลเข้าออกของเงินสดของธุรกิจ  งบกระแสเงินสดเหมาะสำหรับที่จะดูว่า  บริษัทใช้จ่ายเงินเท่าใดในการเพิ่มค่าให้ส่วนทุน  นอกจากนี้  ยังบอกถึงการขายและซื้อพันธบัตรและหุ้นกลับคืนด้วย  ปกติบริษัทจะจัดทำงบกระแสเงินสดควบคู่กับงบการเงินอื่นๆ ด้วย

        ในครั้งต่อไป  เราจะทำการสำรวจรายการและตัวบ่งช้ต่างๆ ในงบกำไร-ขาดทุน  งบดุล  และงบกระแสเงินสดซึ่งวอร์เรนใช้ในการค้นหาว่า บริษัทนั้นๆ มีความได้เปรียบในการแข่ขันที่จะทำให้เขารวยได้ในระยะยาวหรือไม่อย่างละเอียด

วอร์เรนเริ่มการค้นหาบริษัทชั้นยอดจากตรงไหน

     
           ก่อนที่เราจะเริ่มค้นหาบริษัทที่จะทำให้เรารวย  ซึ่งก็คือบริษัทที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน  จะเป็นการช่วยได้มากถ้าเรารู้ว่า  สามารถเริ่มค้นหาได้จากตรงไหน   วอร์เรนพบว่าบริษัทชั้นยอดเหล่านี้มีรูปแบบธุรกิจพื้นฐาน 3 รูปแบบ คือ : ขายผลิตภัณฑ์เฉพาะ  ขายบริการเฉพาะ  หรือเป็นผู้ซื้อและผู้ขายปลิตภัฎฑ์หรือบริการซึ่งเป็นที่ต้องการของสาธารณชนอยู่เสมอในราคาต่ำ

          เราจะมาวิเคราะห์ดูแต่ละรูปแบบกัน

           ขายผลิตภัณฑ์เฉพาะ : นี่คือโลกของโคคา-โคล่า, เป๊ปซี่, ริกลี่ย์, เฮอร์ชีย์, บัดไวเซอร์, วอชิงตันโพส, และฟิลิปมอร์ลิส  บริษัทผู้ผลิตเหล่านี้ต่างได้สร้างเรื่องราวของผลิตภัณฑ์ของพวกเขาในใจผู้ซื้อ  จากการเรียนรู้ความต้องการของลูกค้าประสบการณ์  และโฆษณาส่งเสริมการขาย  ทำให้ผู้ซื้อคิดถึงผลิตภัณฑ์ของบริษัททุกครั้งที่ต้องการสนองความต้องการของตน  เมื่ออยากเคี้ยวหมากฝรั่ง  คุณจะคิดถึงริกลี่ย์  เมื่ออยากดื่มเบียร์เย็นๆ หลังเสร็จจากงานในวันอากาศร้อนจัด  คุณจะคิดถึงบัดไวเซอร์ และแน่นอน  อาหารจะอร่อยขึ้นเมื่อกินกับโค้ก

           วอร์เรนจะคิดว่าบริษัทเหล่านี้ครองใจส่วนหนึ่งของลูกค้าแล้วและตราบใดที่บริษัทหนึ่งๆ สามารถครองใจส่วนหนึ่งของลูกค้าได้  บริษัทจะไม่ต้องเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ของพวกเขา  ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี  นอกจากนี้  ยังสามารถขายสินค้าในราคาสูงขึ้นได้  และขายได้มากขึ้น  ทำให้สามารถสร้างปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจที่น่าที่ง  ซึ่งจะปรากฏออกมาในงบการเงินของบริษัท

        ขายบริการเฉพาะ : นี่คือโลกของมูดีส์  คอร์ป, เอชแอนด์อาร์,บล็อก  อิงค์, อเมริกันเอ็กเพรส, เซอร์วิสมาสเตอร์, และเวลส์ ฟาร์โก แอนด์ โค เช่นเดียวกับทนายความหรือหมอ  บริษัทเหล่านี้ขายบริการที่คนต้องการและพร้อมจะจ่ายเงินซื้อ  แต่ต่างจากทนายความและหมอตรงที่ว่า  ความสำคัญของบริษัทเหล่านี้อยู่ที่ตัวสถาบัน ( Instritutional Spacific ) ไม่ใช่ที่คน ( People Spacific ) เมื่อคุณคิดจะทำเรื่องภาษี  คุณจะคิดถึงเอชแอนด์อาร์  บล็อก  ไม่ใช่คิดถึงตาแจ็คที่ทำงานในเอชแอนด์อาร์ บล็อก ซึ่งเป็นคนลงมือทำภาษีให้คุณ  เมื่อวอร์เรนซื้อหุ้นของซาโลมอน บราเธอส์  ธนาคารวาณิชธนกิจ  (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของซิตี้กรุ๊ป) ซึ่งเขาได้ขายออกไปในภายหลังนั้น  เขาคิดว่าเขากำลังซื้อสถาบัน  แต่เมื่อคนเก่งระดับหัวกะทิเริ่มพากันลาออกจากบริษัทพร้อมลูกค้ารายใหญ่  เขาพบว่าความสำคัญอยู่ที่คน ในบริษัที่มีความสำคัญอยู่ที่คน ( People Spacific ) พนักงานจะสามารถเรีรยกร้องและเอากำไรส่วนใหญ่ไปจากบริษัท  ทิ้งส่วนเล็กๆ ให้กับเจ้าของหรือผู้ถือหุ้น  และการได้กำไรเล็กๆ น้อยๆ ไม่ใช่วิธีที่นักลงทุนจะรวยได้
 
     อย่างไรก็ตาม  ธุรกิจที่ขายบริการเฉพาะสามารถสร้างปรากฏการณ์ได้เช่นกัน  เพราะบริษัทไม่จำเป็นต้องใช้เงินมากมายในการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่  หรือลงทุนมหาศาลในการสร้างโรงงานผลิตและคลังสินค้าทำให้บริษัทที่ขายบริการเฉพาะที่ครองใจลูกค้าสามารถสร้างส่วนต่างกำไรได้มากกว่าบริษัทที่ขายสินค้า
     
           การเป็นผู้ซื้อและผู้ขายผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สาธารณชนต้องการเสมอในราคาต่ำ : นี่คือโลกของวอลมาร์ท, คอสโก, เนบราสก้า, เฟอร์นิเจอร์ มาร์ท, และเดอะ เบอร์ลิงตัน นอร์ทเธิร์น ซานตาเฟ เรลเวย์ บริษัทเหล่านี้ยอมแลกการได้ส่วนต่างกำไรสูงๆ กำับการจำหน่ายในปริมาณมาก  ซึ่งกำไรที่ได้จากการจำหน่ายในปริมาณมากขึ้นแสนคุ้มค่ากับการได้ส่วนต่างกำไรที่ลดลง  หัวใจสำคัญของธุรกิจรูปแบบนี้คือ  เป็นผู้ซื้อราคาถูก และเป็นผู้ขายราคาถูก   ทำให้มีส่วนต่างกำไรสูงกว่าคู่แข่ง  และขณะเดียวกันยังเป็นผู้ขายสินค้าหรือบริการในราคาต่ำได้อีกด้วย นอกจากนี้ เรื่องราวการเป็นผู้ขายสินค้าราคาต่ำที่สุดในเมืองยังจะเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องราวตัดสินใจเลือกร้านเมื่อลูกค้าต้องการจับจ่ายซื้อสินค้า ในโอมาฮา  หากคุณต้องการเตาใหม่สำหรับบ้านของคุณคุณจะไปที่เนบราสก้า  เฟอร์นิเจอร์  มาร์ท  ที่คุณคิดว่ามีสินค้าให้เลือกมากที่สุดและราคาคุ้มค่าที่สุด  เมื่อจะส่งสินค้าข้ามประเทศ  คุณจะนึกถึง เดอะ เบอร์ลิงตัน นอร์ทเธิร์น ซานตาเฟ  ซึ่งคุ้มค่าเงินที่คุณที่สุดและหากคุณอยู่ในเมืองเล็กและต้องการไปซื้อของใหห้างที่มีสินค้าให้เลือกมากที่สุดในราคาคุ้มที่สุด  คุณจะไปที่วอลมาร์ท

         นี่คือสิ่งซึ่งธรรมดามาก : ขายผลิตภัณฑ์เฉพาะ  หรือขายบริการเฉพาะ หรือเป็นผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าและบริการในราคาถูก  แล้วเงินสดจะไหลเข้ามาในมือคุณปีแล้วปีเล่า  เหมือนกับว่าคุณกำลังปล้นธนาคารในมอนติคาร์โลอย่างไรอย่างนั้น
   

ธุรกิจประเภทใดที่ทำให้ วอร์เรน บัฟเฟตต์ รวยระเบิด

   

     ในการเข้าใจความจริงประการแรกที่วอร์เรนค้นพบ  เราต้องเข้าใจธรรมชาติของวอลล์สตรีทและผู้เล่นหลักของวอลล์สตรีทก่อน  แม้วอลล์สตรีทจะให้บริการหลากหลายแก่ธุรกิจในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา  แต่ก็เป็นบ่อนขนาดใหญ่ที่นักพนันในคราบนักเก็งกำไรวางเดิมพันจำนวนมหาศาลเล่นกับการขึ้นลงของราคาหุ้นด้วย

       ในยุคแรก  นักพนันบางคนสามารถสร้างความมั่งคั่งและชื่อเสียงให้กับตนเอง  กลายเป็นบุคคลสำคัญที่ผู้คนจะพากันติดตามความเคลื่อนไหวในหน้าข่าวการเงิน ตัวอย่างคนเหล่านี้สองสามคน  คือ  จิม  เบรดี  หรือ 'ไดมอนด์' และ เบอร์นาร์ด  บารุค  ซึ่งได้รับการยกย่องว่าคือ "ปรมาจารย์แห่งการลงทุน" ในยุคของพวกเขา

       ในยุคปัจจุบันนักลงทุนสถาบัน เช่น กองทุนรวม  กองทุนเก็งกำไร (Hedge Fund) และกองทุนเพื่อการลงทุน  ได้เข้ามาแทนที่นักเก็งกำไรสมัยก่อน  นักลงทุนสถาบัน "ขาย" ตัวเองแก่สาธารณชนด้วยการสร้างภาพว่าคือผู้เชี่ยวชาญในการเลือกหุ้น  และเที่ยวโฆษณาอวดผลการดำเนินการประจำปีเป็นเหยื่อล่อผู้ไร้วิสัยทัศน์ซึ่งกระหายจะรวยอย่างรวดเร็ว

      ตามกฏก็คือ  นักเก็งกำไรมักจะเป็นพวก "อยู่ไม่สูข"  คือ... รีบซื้อเมื่อมีข่าวดี  และรีบขายเมื่อมีข่าวร้าย  หากราคาหุ้นไม่เคลื่อนไหวภายในเดือนสองเดือน  พวกเขาจะรีบขายเพื่อมองหาตัวใหม่

       นักพนันรุ่นใหม่ระดับหัวกระทิต่างพากันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อนเพื่อวัดความเร็วจองการขึ้นหรือตกของราคาหุ้น  หากราคาหุ้นขึ้นเร็วระดับหนึ่ง  คอมพิวเตอร์จะส่งสัญญาณซื้อ  หากราคาหุ้นตกเร็วระดับหนึ่ง  คอมพิวเตอร์จะส่งสัญญานขาย  ทำให้เกิดการกระโดดเข้า กระโดดออกในหุ้นนับพันตัวทุกวัน

         การที่นักลงทุนคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะรีบกระโดดเข้าซื้อในวันนี้แล้วรีบกระโดออกในวันรุ่งขึ้นไม่ใช่เรื่องผิดปกกติ  ผู้จัดการกองทุนเก็งกำไรหลายรายก็ใช้ระบบนี้  และสามารถทำเงินมากมายให้กับลูกค้าได้ แต่เมื่อใดที่ขาดทุน ลูกค้าเหล่านี้ (หากยังมีเงินเหลือ) ก็จะบอกลาทันทีเพื่อไปหานักเลือกหุ้นคนใหม่

        วอลล์สตรีทเต็มไปด้วยเรื่องราวความรุ่งโรจน์และความตกต่ำของนักเลือกหุ้นระดับเซียนและไม่ค่อยเซียนเหล่านี้

       การซื้อขายหุ้นอย่างบ้าระห่ำของนักเก็งกำไรมีมานมนาน  หนึ่งในปรากฏการณ์ซื้อระห่ำครั้งยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งคือ  ในทศวรรษ 1920  ส่งผลให้ราคาหุ้นพุ่งสูงลิ่ว  แต่แล้วในปี 1929 ตลาดก็พังครืน  หุ้นร่วงไม่เป็นท่า

       ในต้นทศวรรษ 1930 นักวิเคราะห์หนุ่มกล้าได้กล้าเสียแห่งวอลล์สตรีท นาม เบนจามิน  เกรแฮม  สังเกตเห็นว่านักเลือกหุ้นคนดังส่วนใหญ่ในวอลล์สตรีทไม่ได้ให้ความสนใจเลยกับเศรษฐกิจในระยะยาวของธุรกิจซึ่งพวกเขากำลังวุ่นกับการซื้อ - ขาย สิ่งเดียวที่พวกเขาสนใจคือ ราคาหุ้นที่พวกเขาเลือกจะวิ่งขึ้นหรือลงหรือไม่ใช่ช่วงเวลาสั้นๆ

       เกรแฮมยังสังเกตเห็นว่า  บางครั้งในการเก็งกำไร  นักเลือกหุ้นระดับเซียนเหล่านี้จะไล่ราคาหุ้นจนขึ้นสูงอย่างน่าขัน เมื่อเทียบกับความเป็นจริงจองเศรษฐกิจในระยะยาวของธุรกิจที่แฝงอยู่   และยังตระหนักด้วยว่า  ในทำนองเดียวกัน   เซียนพวกเดียวกันนี้บางครั้งยังพากันเทขายอย่างไม่ลืมหูลืมตา  ทำให้ราคาหุ้นดิ่งลงอย่างไม่น่าเชื่อ  โดยไม่สนใจกับโอกาสทำกำไรในระยะยาวของบริษัทเลย  และราคาหุ้นที่ตกต่ำลงอย่างเหลือเชื่อนี้แหละที่เกรแฮมเห็นเป็นโอกาสอันดีเยี่ยมในการทำเงิน

      เกรแฮมให้เหตุผลว่า  หากเขาซื้อ "ธุรกิจที่เข้าข่ายขายมากเกินไปในราคาต่ำกว่ามูลค่าจริงในระยะยาว  ในที่สุดตลาดจะพบความผิดพลาดและปรับราคาขึ้นไปใหม่  และเมื่อตลาดให้ราคาใหม่ที่สูงขึ้นแล้วเขาก็จะขายทำกำไร  นี่คือพื้นฐานที่รู้กันทุกวันนี้  ซึ่งเรียกว่า  การลงทุนแบบเน้นคุณค่า หรือ Value Investing ...เกรแฮมคือบิดาของศาสตร์นี้


             อย่างไรก็ตาม  สิ่งที่ต้องตระหนักคือ  เกรแฮมไม่สนใจว่าธุรกิจประเภทไหนที่เขาซื้อ  ในโลกของเขาทุกธุรกิจจะมีราคาหนึ่งซึ่งถือว่าถูกมาก  เมื่อเขาเริ่มใช้หลักการลงทุนแบบเน้นคุณค่าในทศวรรษ  1930  เขามุ่งเน้นการค้นหาบริษัทที่มีการซื้อขายต่ำกว่าจำนวนเงินสดที่บริษัทถืออยู่  ซึ่งเขาเรียกว่า "การซื้อ 1 ดอลลาร์ ในราคา 50 เซนต์" นอกจากนี้เขายังมีมาตรฐานอื่นๆ ด้วย เช่น  จงอย่าจ่ายเงินซื้อหุ้นสูงกว่า 10 เท่า ของกำไรของบริษัท  และจงขายหุ้นเมื่อราคาเพิ่มขึ้น 50% และหากหุ้นใดๆ ไม่ขึ้นภายใน 2 ปี เขาก็จะขายทิ้งด้วย  จริงอยู่  การมองของเขายาวขึ้นกว่าพวกนักเก็งกำไรในวอลล์สตรีทเล็กน้อย  แต่ความจริงก็คือเขาให้ความสนใจเป็นศูนย์  หรือเรียกได้ว่าไม่สนใจเลยว่าบริษัทนั้นๆ จะเป็นอย่างไรในอีก 10 ปีข้างหน้า

           วอร์เรน บัฟเฟตต์ เรียนรู้แนวคิดการลงทุนแบบเน้นคุณค่าจากเกรแฮมที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย  ในทศวรรษ 1950 จากนั้นก่อนที่เกรแฮมจะเกษียนไม่นาน ได้เข้าทำงานในตำแหน่งนักวิเคราะห์ในบริษัทของแกรแฮมที่วอลล์สตรีท  และได้ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับนักนักลงทุนแบบเน้นคุณค่าที่มีชื่อเสียง คือ วอลลเตอร์ ชโลสส์  ซึ่งได้สอนให้หนุ่มน้อย วอร์เรน  บัฟเฟตต์ เรียนรู้ถึงศิลปะในการค้นพบสถานการณ์ที่ราคาของบริษัทต่ำกว่ามูลค่าจริง  ด้วยการให้เขาอ่านงบการเงินของบริษัทนับพัน

          หลังจากที่เกรแฮมเกษียนอายุแล้ว  วอร์เรนเดินทางกลับบ้านเกิดที่โอมาฮา ทำให้เขามีเวลานั่งไตร่ตรองแนวคิดของเกรแฮมห่างจากนักเก็งกำไรบ้าระห่ำในวอลล์สตรีท  และในช่วงนี้เองที่เขาพบว่า  คำสอนของอาจารย์ของเขามีปัญหาสองสามประการ

          ประการแรกคือ  ไม่ใช่ว่าธุรกิจที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าจะได้รัรบการปรับราคาให้สูงขึ้นทุกธุรกิจ  และบางธุรกิจถึงกับล้มละลายก็มี   ทุกงวดของการขายหุ้นจะมีจำนวนหนึ่งซึ่งกำไรและอีกจำนวนหนี่งที่ขาดทุน  ซึ่งฉุดให้ผลประกอบการโดยรวมต่ำลง  เกรแฮมพยายามป้องกันสถานการณ์เช่นนี้ด้วยการมีพอร์ตฟอลิโอที่ประกอบด้วยบริษัทมากมาย  บางครังถึง 100 บริษัทหรือกว่านั้นก็มี  นอกจากนี้ยังใช้กลยุทธ์ในการขจัดหุ้นที่ราคาไม่ขึ้นหลังจากลงทุนมา 2 ปีออกด้วย  กระนั้นก็ตาม  สุดท้ายแล้ว "หุ้นราคาต่ำกว่ามูลค่า" ของเขาหลายตัวก็ยังคงต่ำกว่ามูลค่าอยู่ 

         วอร์เรน บัฟเฟตต์ พบว่าบริษัทจำนวนหนึ่่งซึ่งเขาและเกรแฮมซื้อ  และขายไปแล้วตามกฏ 50% ของเกรแฮมยังคงเติบโตขึ้นทุกปี  และระหว่างนี้เขาได้เห็นราคาหุ้นของบริษัทเหล่านี้พุ่งขึ้นเรื่อยๆ หลักจากที่เกรแฮมขายทิ้งไปแล้ว  เหมือนกับว่าพวกเขาซื้อตั๋วรถไฟไปที่ "ถนนสุขสบาย" แต่กลับกระโดดรถก่อนจะถึงสถานีเสืยอย่างนั้น  เพราะว่าไม่รู้อย่างแท้จริงว่ารถไฟกำลังมุ่งไปที่ไหน

        วอร์เรน  คิดว่าเขาสามารถพัฒาผลงานของอาจารย์ให้ดีขึ้นได้ด้วยการศึกษาเศรษฐกิจของธุรกิจองบริษัทดาวเด่นเหล่านี้  แล้วก็เริ่มศึกษางบการเงินของบริษัทเหล่านี้ด้วยมุมมองใหม่ว่า  อะไรคือสิ่งที่ทำให้บริษัทเหล่านี้เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนยอดเยี่ยมในระยะยาว

        สิ่งที่วอรเรน บัฟเฟตต์เรียนรู้ก็คือบริษัทชั้นยอดเหล่านี้ล้วนได้ประโยชน์จากความได้เปรียบในการแข่งขั้นบางประการที่ทำให้เกิดเศรษฐกิจซึ่งเหมือนระบบผูกขาด  ซึ่งทำให้พวกเขาสามารถขึ้นราคาผลิตภัณฑ์หรือขายผลิตภัณฑ์ได้มากกว่า  และสามารถทำเงินได้เหนือกว่าคู่แข่งจำนวนมหาศาล

       วอร์เรนยังพบว่า  หากบริษัทสามารถคงความได้เปรียบในการแข่งขันเป็นเวลานาน  หรือหากว่าความได้เปรียบนั้นมีความ "ยั่งยืน" มูลค่าแฝงของบริษัทก็จะเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่องด้วย  เมื่อพิจารณาถึงมูลค่าแฝงที่เพิ่มขึ้นแล้ว  วอร์เรนก็ยิ่งเห็นเหตุผลว่ายิ่งเขาลงทุนนานเท่าใดเขาก็ยิ่งมีโอกาสในการทำกำไรมาขึ้นจากความได้เปรียบของธุรกิจ

      วอร์เรนยังพบว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งในอนาคต  นักลงทุนหรือนักเก็งกำไร  หรือทั้ง 2 กลุ่ม -- จะเห็นมูลค่าแฝงที่เพิ่มขึ้นของบริษัทนั้นๆ และดันราคาหุ้นของบริษัทขึ้น  ซึ่งเหมือนกับว่าการได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนของบริษัท  ทำให้การลงทุนในธุรกิของบริษัทเหล่านี้ประสบความสำเร็จได้เองตามคาด

       วอร์เรนได้พบบางสิ่งซึ่งน่าอัศจรรย์กว่าแล้ว...ธุรกิจเหล่านี้มีเศรษฐกิจขอธุรกิจน่าทึ่งซึ่งทำงานอยู่ฝ่ายพวกเขา  ทำให้โอกาสการล้มละลายของบริษัทเหล่านี้เป็นศุนย์  ซึ่งหมายความว่ายิ่งนักเก็งกำไรในวอลล์สตรีทพากันทุบราคาหุ้นให้ยิ่งต่ำลงเท่าใด  วอร์เรนก็จะมีความเสี่ยงในการซื้อหุ้นเหล่านี้เข้ามาเก็บน้อยลงเท่านั้น   นอกจากนี้  ราคาหุ้นที่ต่ำลงยังหมายถึงโอกาสในการขึ้นมากขึ้นด้วย  ยิ่งเขาเก็บหุ้นไว้นานเท่าใด  เขาก็ยิ่งมีเวลาในการทำกำไรจากเศรษฐกิจแฝงของธุรกิจเหล่านี้ยิ่งขึ้น  ความจริงดังกว่านี้จะสร้างความมั่งคั่งมหาศาลให้เขาทันทีที่ตลาดหุ้นมองเห็นอนาคตอันสดใสของบริษัทเหล่านี้ในที่สุด
     
       ทั้งหมดนี้ขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับภาษิตของวอลล์สตรีทที่บอกว่าเพื่อให้ได้กำไรสูงสุดคุณต้องเพิ่มความเสี่ยงแฝง  หรือที่ว่ากันว่า "ยิ่งมีความเสี่ยงมาก  ยิ่งกำไรมาก"  วอร์เรนได้พบ  "จอกศักสิทธิ์" แห่งการลงทุนแล้ว   ....เขาได้พบกับการลงทุนที่เสี่ยงน้อยลง  แต่มีความสามารถในการทำกำไรเพิ่มขึ้น

       เพื่อให้ทุกอย่างง่ายขึ้น  วอร์เรนพบว่าเขาไม่ต้องรอให้วอลล์สตรีททุบหุ้นจนได้ราคาถูกแสนถูกอีกต่อไป  แต่เขาสามารถซื้อหุ้นของบริษัทชั้นยอดเหล่านี้ในราคาที่เหมาะสม  ซึ่งยังคงทำกำไรได้หากลงทุนนานพอ  นอกจากนี้  ยังพบว่า  หากเขาเก็บหุ้นในระยะยาว  ไม่ขายออก  เขายังสามารถเลื่อนการจ่ายภาษีของกำไรจากส่วนต่างของราคาหุ้นออกไปเรื่อยๆ ทำให้การลงทุนของเขาปลอดภาษีไปตลอดตราบใดที่เขายังถือหหุ้นไว้ด้วย

        มาดูตัวอย่างกัน.... ใปี 1973  วอร์เรนลงทุน 11 ล้านเหรียญ ในวอชิงตันโพสต์  บริษัทหนังสือพิมพ์ที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน  และยังคง "กอด" ไว้อยู่จนถึงตอนนี้  ในช่วงกว่า 35 ปี ที่วอร์เรนลงทุน  มูลค่าของบริษัทได้พุ่งขึ้นถึง $1.4 พันล้านเหรียญ  นี่คือการลงทุน 11 ล้านเหรียญ  ที่ทำกำไรได้  $1.4 พันล้านเหรียญ!!!  ไม่เลวเลยทีเดียว  และที่ดีที่สุดคือ  เนื่องจากวอร์เรนไม่เคยขายหุ้นเลยสักหุ้น  ดังนั้นจนถึงขณะนี้เขาจึงยังไม่ต้องเสียภาษีสักสตางค์แดงเดียวจากกำไรที่ได้รับด้วย 

       ในทางกลับกัน  เกรแฮมซึ่งใช้หลัก 50% คงขายหุ้นวอชิงตันโพสต์ของวอร์เรนไปตั้งแต่ปี 1976 ในราคาราว 116 ล้านเหรียญ  และต้องเสียภาษี 39% ของกำไรที่ได้จากส่วนต่างราคาหุ้น แต่ที่แย่กว่านั้นก็คือ  บรรดาเซียนคัดหุ้นในวอลล์สตรีทที่คงจะซื้อๆ ขายๆ เป็นเจ้าของหุ้นเหล่านี้ครั้งไม่ถ้วนในช่วง 35 ปีที่ผ่านมา  เพื่อที่จะได้กำไร 10-20% จากตรงนั้นบ้างตรงนี้บ้าง  และต้องเสียภาษีทุกครั้งที่ขายด้วย  แต่วอร์เรน  บัฟเฟตต์คั้นกำไรจากการลงทุนในวอชิงตันโพสต์ได้มากถึง 12,460% และถึงทุกวันนี้ยังไม่ต้องเสียภาษีสักแดงเดียวจากกำไร  $1.4 พันล้านเหรียญ

         วอร์เรนได้เรียนรู้ว่า  เวลาจะทำให้เขารวยระเบิด  หากเขาลงทุนในบริษัทที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน 

 warren buffett


      

         

วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เผยความจริง ที่ทำให้ วอร์เรน บัฟเฟตต์ คือชายที่รวยที่สุดในโลก




"คุณต้องเข้าใจบัญชี  และต้องเข้าใจความแต่ต่างเล็กๆ น้อยๆ ในบัญชี  บัญชีคือภาษาของธุรกิจ  แต่เป็นภาษาที่ไม่สมบูรณ์  

ตราบใดที่คุณไม่มีความตั้งใจ  ที่จะเรียนรู้และเข้าใจบัญชี  วิธีการอ่านและตีความหมายของงบการเงิน...จงอย่าเลือกหุ้นด้วยตัวคุณเอง "

        ในกลางทศวรรษที่ 60 วอร์เรนได้หยุดพิจารณากลยุทธ์การลงทุนของเบนจามิน  เกรแฮม ใหม่ ซึ่งทำให้เขาพบกับความจริงเหลือเชื่อ 2 ประการ เกี่ยวกับว่า บริษัทประเภทใดที่ดีที่สุดในการลงทุน  และจะทำเงินให้ได้มากที่สุดในระยะยาว  ผลโดยตรงจากการค้นพบนี้ก็คือ  วอร์เรน ได้เปลี่ยนกลยุทธ์การลงทุนแบบเน้นคุณค่า  (Value investment) ตามแนวคิดของเกรแฮมซึ่งเขาใช้อยู่จนถึงขณะนั้น  และได้สร้างกลยุทธ์การลงทุนเพื่อความมั่งคั่งที่ยอดเยี่ยมที่สุดในโลกเท่าที่เคยมี

          วัตถุประสงค์ของหนังสือเล่มนี้ก็คือ  สำรวจความจริง  2 ประการที่  วอร์เรนได้พบ คือ

  1. วิธีการบ่งชี้บริษัทชั้นยอดที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน
  2. วิธีการในการประเมินมูลค่าของบริษัทที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน  
           เพื่อจะอธิบายว่า  กลยุทธ์สุดพิเศษของวอร์เรนทำงานอย่างไรและเขาใช้กลยุทธ์ของเขากับงบการเงินอย่างไร  จึงทำให้เขาเป็นคนรวยที่สุดในโลก