วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557

ธุรกิจประเภทใดที่ทำให้ วอร์เรน บัฟเฟตต์ รวยระเบิด

   

     ในการเข้าใจความจริงประการแรกที่วอร์เรนค้นพบ  เราต้องเข้าใจธรรมชาติของวอลล์สตรีทและผู้เล่นหลักของวอลล์สตรีทก่อน  แม้วอลล์สตรีทจะให้บริการหลากหลายแก่ธุรกิจในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา  แต่ก็เป็นบ่อนขนาดใหญ่ที่นักพนันในคราบนักเก็งกำไรวางเดิมพันจำนวนมหาศาลเล่นกับการขึ้นลงของราคาหุ้นด้วย

       ในยุคแรก  นักพนันบางคนสามารถสร้างความมั่งคั่งและชื่อเสียงให้กับตนเอง  กลายเป็นบุคคลสำคัญที่ผู้คนจะพากันติดตามความเคลื่อนไหวในหน้าข่าวการเงิน ตัวอย่างคนเหล่านี้สองสามคน  คือ  จิม  เบรดี  หรือ 'ไดมอนด์' และ เบอร์นาร์ด  บารุค  ซึ่งได้รับการยกย่องว่าคือ "ปรมาจารย์แห่งการลงทุน" ในยุคของพวกเขา

       ในยุคปัจจุบันนักลงทุนสถาบัน เช่น กองทุนรวม  กองทุนเก็งกำไร (Hedge Fund) และกองทุนเพื่อการลงทุน  ได้เข้ามาแทนที่นักเก็งกำไรสมัยก่อน  นักลงทุนสถาบัน "ขาย" ตัวเองแก่สาธารณชนด้วยการสร้างภาพว่าคือผู้เชี่ยวชาญในการเลือกหุ้น  และเที่ยวโฆษณาอวดผลการดำเนินการประจำปีเป็นเหยื่อล่อผู้ไร้วิสัยทัศน์ซึ่งกระหายจะรวยอย่างรวดเร็ว

      ตามกฏก็คือ  นักเก็งกำไรมักจะเป็นพวก "อยู่ไม่สูข"  คือ... รีบซื้อเมื่อมีข่าวดี  และรีบขายเมื่อมีข่าวร้าย  หากราคาหุ้นไม่เคลื่อนไหวภายในเดือนสองเดือน  พวกเขาจะรีบขายเพื่อมองหาตัวใหม่

       นักพนันรุ่นใหม่ระดับหัวกระทิต่างพากันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อนเพื่อวัดความเร็วจองการขึ้นหรือตกของราคาหุ้น  หากราคาหุ้นขึ้นเร็วระดับหนึ่ง  คอมพิวเตอร์จะส่งสัญญาณซื้อ  หากราคาหุ้นตกเร็วระดับหนึ่ง  คอมพิวเตอร์จะส่งสัญญานขาย  ทำให้เกิดการกระโดดเข้า กระโดดออกในหุ้นนับพันตัวทุกวัน

         การที่นักลงทุนคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะรีบกระโดดเข้าซื้อในวันนี้แล้วรีบกระโดออกในวันรุ่งขึ้นไม่ใช่เรื่องผิดปกกติ  ผู้จัดการกองทุนเก็งกำไรหลายรายก็ใช้ระบบนี้  และสามารถทำเงินมากมายให้กับลูกค้าได้ แต่เมื่อใดที่ขาดทุน ลูกค้าเหล่านี้ (หากยังมีเงินเหลือ) ก็จะบอกลาทันทีเพื่อไปหานักเลือกหุ้นคนใหม่

        วอลล์สตรีทเต็มไปด้วยเรื่องราวความรุ่งโรจน์และความตกต่ำของนักเลือกหุ้นระดับเซียนและไม่ค่อยเซียนเหล่านี้

       การซื้อขายหุ้นอย่างบ้าระห่ำของนักเก็งกำไรมีมานมนาน  หนึ่งในปรากฏการณ์ซื้อระห่ำครั้งยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งคือ  ในทศวรรษ 1920  ส่งผลให้ราคาหุ้นพุ่งสูงลิ่ว  แต่แล้วในปี 1929 ตลาดก็พังครืน  หุ้นร่วงไม่เป็นท่า

       ในต้นทศวรรษ 1930 นักวิเคราะห์หนุ่มกล้าได้กล้าเสียแห่งวอลล์สตรีท นาม เบนจามิน  เกรแฮม  สังเกตเห็นว่านักเลือกหุ้นคนดังส่วนใหญ่ในวอลล์สตรีทไม่ได้ให้ความสนใจเลยกับเศรษฐกิจในระยะยาวของธุรกิจซึ่งพวกเขากำลังวุ่นกับการซื้อ - ขาย สิ่งเดียวที่พวกเขาสนใจคือ ราคาหุ้นที่พวกเขาเลือกจะวิ่งขึ้นหรือลงหรือไม่ใช่ช่วงเวลาสั้นๆ

       เกรแฮมยังสังเกตเห็นว่า  บางครั้งในการเก็งกำไร  นักเลือกหุ้นระดับเซียนเหล่านี้จะไล่ราคาหุ้นจนขึ้นสูงอย่างน่าขัน เมื่อเทียบกับความเป็นจริงจองเศรษฐกิจในระยะยาวของธุรกิจที่แฝงอยู่   และยังตระหนักด้วยว่า  ในทำนองเดียวกัน   เซียนพวกเดียวกันนี้บางครั้งยังพากันเทขายอย่างไม่ลืมหูลืมตา  ทำให้ราคาหุ้นดิ่งลงอย่างไม่น่าเชื่อ  โดยไม่สนใจกับโอกาสทำกำไรในระยะยาวของบริษัทเลย  และราคาหุ้นที่ตกต่ำลงอย่างเหลือเชื่อนี้แหละที่เกรแฮมเห็นเป็นโอกาสอันดีเยี่ยมในการทำเงิน

      เกรแฮมให้เหตุผลว่า  หากเขาซื้อ "ธุรกิจที่เข้าข่ายขายมากเกินไปในราคาต่ำกว่ามูลค่าจริงในระยะยาว  ในที่สุดตลาดจะพบความผิดพลาดและปรับราคาขึ้นไปใหม่  และเมื่อตลาดให้ราคาใหม่ที่สูงขึ้นแล้วเขาก็จะขายทำกำไร  นี่คือพื้นฐานที่รู้กันทุกวันนี้  ซึ่งเรียกว่า  การลงทุนแบบเน้นคุณค่า หรือ Value Investing ...เกรแฮมคือบิดาของศาสตร์นี้


             อย่างไรก็ตาม  สิ่งที่ต้องตระหนักคือ  เกรแฮมไม่สนใจว่าธุรกิจประเภทไหนที่เขาซื้อ  ในโลกของเขาทุกธุรกิจจะมีราคาหนึ่งซึ่งถือว่าถูกมาก  เมื่อเขาเริ่มใช้หลักการลงทุนแบบเน้นคุณค่าในทศวรรษ  1930  เขามุ่งเน้นการค้นหาบริษัทที่มีการซื้อขายต่ำกว่าจำนวนเงินสดที่บริษัทถืออยู่  ซึ่งเขาเรียกว่า "การซื้อ 1 ดอลลาร์ ในราคา 50 เซนต์" นอกจากนี้เขายังมีมาตรฐานอื่นๆ ด้วย เช่น  จงอย่าจ่ายเงินซื้อหุ้นสูงกว่า 10 เท่า ของกำไรของบริษัท  และจงขายหุ้นเมื่อราคาเพิ่มขึ้น 50% และหากหุ้นใดๆ ไม่ขึ้นภายใน 2 ปี เขาก็จะขายทิ้งด้วย  จริงอยู่  การมองของเขายาวขึ้นกว่าพวกนักเก็งกำไรในวอลล์สตรีทเล็กน้อย  แต่ความจริงก็คือเขาให้ความสนใจเป็นศูนย์  หรือเรียกได้ว่าไม่สนใจเลยว่าบริษัทนั้นๆ จะเป็นอย่างไรในอีก 10 ปีข้างหน้า

           วอร์เรน บัฟเฟตต์ เรียนรู้แนวคิดการลงทุนแบบเน้นคุณค่าจากเกรแฮมที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย  ในทศวรรษ 1950 จากนั้นก่อนที่เกรแฮมจะเกษียนไม่นาน ได้เข้าทำงานในตำแหน่งนักวิเคราะห์ในบริษัทของแกรแฮมที่วอลล์สตรีท  และได้ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับนักนักลงทุนแบบเน้นคุณค่าที่มีชื่อเสียง คือ วอลลเตอร์ ชโลสส์  ซึ่งได้สอนให้หนุ่มน้อย วอร์เรน  บัฟเฟตต์ เรียนรู้ถึงศิลปะในการค้นพบสถานการณ์ที่ราคาของบริษัทต่ำกว่ามูลค่าจริง  ด้วยการให้เขาอ่านงบการเงินของบริษัทนับพัน

          หลังจากที่เกรแฮมเกษียนอายุแล้ว  วอร์เรนเดินทางกลับบ้านเกิดที่โอมาฮา ทำให้เขามีเวลานั่งไตร่ตรองแนวคิดของเกรแฮมห่างจากนักเก็งกำไรบ้าระห่ำในวอลล์สตรีท  และในช่วงนี้เองที่เขาพบว่า  คำสอนของอาจารย์ของเขามีปัญหาสองสามประการ

          ประการแรกคือ  ไม่ใช่ว่าธุรกิจที่มีราคาต่ำกว่ามูลค่าจะได้รัรบการปรับราคาให้สูงขึ้นทุกธุรกิจ  และบางธุรกิจถึงกับล้มละลายก็มี   ทุกงวดของการขายหุ้นจะมีจำนวนหนึ่งซึ่งกำไรและอีกจำนวนหนี่งที่ขาดทุน  ซึ่งฉุดให้ผลประกอบการโดยรวมต่ำลง  เกรแฮมพยายามป้องกันสถานการณ์เช่นนี้ด้วยการมีพอร์ตฟอลิโอที่ประกอบด้วยบริษัทมากมาย  บางครังถึง 100 บริษัทหรือกว่านั้นก็มี  นอกจากนี้ยังใช้กลยุทธ์ในการขจัดหุ้นที่ราคาไม่ขึ้นหลังจากลงทุนมา 2 ปีออกด้วย  กระนั้นก็ตาม  สุดท้ายแล้ว "หุ้นราคาต่ำกว่ามูลค่า" ของเขาหลายตัวก็ยังคงต่ำกว่ามูลค่าอยู่ 

         วอร์เรน บัฟเฟตต์ พบว่าบริษัทจำนวนหนึ่่งซึ่งเขาและเกรแฮมซื้อ  และขายไปแล้วตามกฏ 50% ของเกรแฮมยังคงเติบโตขึ้นทุกปี  และระหว่างนี้เขาได้เห็นราคาหุ้นของบริษัทเหล่านี้พุ่งขึ้นเรื่อยๆ หลักจากที่เกรแฮมขายทิ้งไปแล้ว  เหมือนกับว่าพวกเขาซื้อตั๋วรถไฟไปที่ "ถนนสุขสบาย" แต่กลับกระโดดรถก่อนจะถึงสถานีเสืยอย่างนั้น  เพราะว่าไม่รู้อย่างแท้จริงว่ารถไฟกำลังมุ่งไปที่ไหน

        วอร์เรน  คิดว่าเขาสามารถพัฒาผลงานของอาจารย์ให้ดีขึ้นได้ด้วยการศึกษาเศรษฐกิจของธุรกิจองบริษัทดาวเด่นเหล่านี้  แล้วก็เริ่มศึกษางบการเงินของบริษัทเหล่านี้ด้วยมุมมองใหม่ว่า  อะไรคือสิ่งที่ทำให้บริษัทเหล่านี้เป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนยอดเยี่ยมในระยะยาว

        สิ่งที่วอรเรน บัฟเฟตต์เรียนรู้ก็คือบริษัทชั้นยอดเหล่านี้ล้วนได้ประโยชน์จากความได้เปรียบในการแข่งขั้นบางประการที่ทำให้เกิดเศรษฐกิจซึ่งเหมือนระบบผูกขาด  ซึ่งทำให้พวกเขาสามารถขึ้นราคาผลิตภัณฑ์หรือขายผลิตภัณฑ์ได้มากกว่า  และสามารถทำเงินได้เหนือกว่าคู่แข่งจำนวนมหาศาล

       วอร์เรนยังพบว่า  หากบริษัทสามารถคงความได้เปรียบในการแข่งขันเป็นเวลานาน  หรือหากว่าความได้เปรียบนั้นมีความ "ยั่งยืน" มูลค่าแฝงของบริษัทก็จะเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่องด้วย  เมื่อพิจารณาถึงมูลค่าแฝงที่เพิ่มขึ้นแล้ว  วอร์เรนก็ยิ่งเห็นเหตุผลว่ายิ่งเขาลงทุนนานเท่าใดเขาก็ยิ่งมีโอกาสในการทำกำไรมาขึ้นจากความได้เปรียบของธุรกิจ

      วอร์เรนยังพบว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งในอนาคต  นักลงทุนหรือนักเก็งกำไร  หรือทั้ง 2 กลุ่ม -- จะเห็นมูลค่าแฝงที่เพิ่มขึ้นของบริษัทนั้นๆ และดันราคาหุ้นของบริษัทขึ้น  ซึ่งเหมือนกับว่าการได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนของบริษัท  ทำให้การลงทุนในธุรกิของบริษัทเหล่านี้ประสบความสำเร็จได้เองตามคาด

       วอร์เรนได้พบบางสิ่งซึ่งน่าอัศจรรย์กว่าแล้ว...ธุรกิจเหล่านี้มีเศรษฐกิจขอธุรกิจน่าทึ่งซึ่งทำงานอยู่ฝ่ายพวกเขา  ทำให้โอกาสการล้มละลายของบริษัทเหล่านี้เป็นศุนย์  ซึ่งหมายความว่ายิ่งนักเก็งกำไรในวอลล์สตรีทพากันทุบราคาหุ้นให้ยิ่งต่ำลงเท่าใด  วอร์เรนก็จะมีความเสี่ยงในการซื้อหุ้นเหล่านี้เข้ามาเก็บน้อยลงเท่านั้น   นอกจากนี้  ราคาหุ้นที่ต่ำลงยังหมายถึงโอกาสในการขึ้นมากขึ้นด้วย  ยิ่งเขาเก็บหุ้นไว้นานเท่าใด  เขาก็ยิ่งมีเวลาในการทำกำไรจากเศรษฐกิจแฝงของธุรกิจเหล่านี้ยิ่งขึ้น  ความจริงดังกว่านี้จะสร้างความมั่งคั่งมหาศาลให้เขาทันทีที่ตลาดหุ้นมองเห็นอนาคตอันสดใสของบริษัทเหล่านี้ในที่สุด
     
       ทั้งหมดนี้ขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับภาษิตของวอลล์สตรีทที่บอกว่าเพื่อให้ได้กำไรสูงสุดคุณต้องเพิ่มความเสี่ยงแฝง  หรือที่ว่ากันว่า "ยิ่งมีความเสี่ยงมาก  ยิ่งกำไรมาก"  วอร์เรนได้พบ  "จอกศักสิทธิ์" แห่งการลงทุนแล้ว   ....เขาได้พบกับการลงทุนที่เสี่ยงน้อยลง  แต่มีความสามารถในการทำกำไรเพิ่มขึ้น

       เพื่อให้ทุกอย่างง่ายขึ้น  วอร์เรนพบว่าเขาไม่ต้องรอให้วอลล์สตรีททุบหุ้นจนได้ราคาถูกแสนถูกอีกต่อไป  แต่เขาสามารถซื้อหุ้นของบริษัทชั้นยอดเหล่านี้ในราคาที่เหมาะสม  ซึ่งยังคงทำกำไรได้หากลงทุนนานพอ  นอกจากนี้  ยังพบว่า  หากเขาเก็บหุ้นในระยะยาว  ไม่ขายออก  เขายังสามารถเลื่อนการจ่ายภาษีของกำไรจากส่วนต่างของราคาหุ้นออกไปเรื่อยๆ ทำให้การลงทุนของเขาปลอดภาษีไปตลอดตราบใดที่เขายังถือหหุ้นไว้ด้วย

        มาดูตัวอย่างกัน.... ใปี 1973  วอร์เรนลงทุน 11 ล้านเหรียญ ในวอชิงตันโพสต์  บริษัทหนังสือพิมพ์ที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน  และยังคง "กอด" ไว้อยู่จนถึงตอนนี้  ในช่วงกว่า 35 ปี ที่วอร์เรนลงทุน  มูลค่าของบริษัทได้พุ่งขึ้นถึง $1.4 พันล้านเหรียญ  นี่คือการลงทุน 11 ล้านเหรียญ  ที่ทำกำไรได้  $1.4 พันล้านเหรียญ!!!  ไม่เลวเลยทีเดียว  และที่ดีที่สุดคือ  เนื่องจากวอร์เรนไม่เคยขายหุ้นเลยสักหุ้น  ดังนั้นจนถึงขณะนี้เขาจึงยังไม่ต้องเสียภาษีสักสตางค์แดงเดียวจากกำไรที่ได้รับด้วย 

       ในทางกลับกัน  เกรแฮมซึ่งใช้หลัก 50% คงขายหุ้นวอชิงตันโพสต์ของวอร์เรนไปตั้งแต่ปี 1976 ในราคาราว 116 ล้านเหรียญ  และต้องเสียภาษี 39% ของกำไรที่ได้จากส่วนต่างราคาหุ้น แต่ที่แย่กว่านั้นก็คือ  บรรดาเซียนคัดหุ้นในวอลล์สตรีทที่คงจะซื้อๆ ขายๆ เป็นเจ้าของหุ้นเหล่านี้ครั้งไม่ถ้วนในช่วง 35 ปีที่ผ่านมา  เพื่อที่จะได้กำไร 10-20% จากตรงนั้นบ้างตรงนี้บ้าง  และต้องเสียภาษีทุกครั้งที่ขายด้วย  แต่วอร์เรน  บัฟเฟตต์คั้นกำไรจากการลงทุนในวอชิงตันโพสต์ได้มากถึง 12,460% และถึงทุกวันนี้ยังไม่ต้องเสียภาษีสักแดงเดียวจากกำไร  $1.4 พันล้านเหรียญ

         วอร์เรนได้เรียนรู้ว่า  เวลาจะทำให้เขารวยระเบิด  หากเขาลงทุนในบริษัทที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน 

 warren buffett


      

         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น