วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ความจำเป็นที่จะต้องวางแผน

ความจำเป็นที่จะต้องวางแผน  ไม่ใช่ทำเฉพาะการลงทุนเท่านั้น



คุณจะเดินทางไปในสถานที่ที่คุณไม่เคยไปมาก่อนโดยไม่มีแผนที่ไม่มีเอกสารบอกเส้นทางใดๆ และไม่มีเครื่องนำทางจีพีเอสไหม ?  คุณจะเริ่มต้นธุรกิจโดยไม่ยอมเสียเวลาและพลังงานเพื่อค้นคว้าวิจัยธุรกิจนั้นๆ ให้รู้แจ้งโดยตลอดแล้วเขียนแผนธุรกิจที่ดีเตียมไว้ก่อนหรือป่าว?  คำตอบที่ได้นั้นจะอธิบายถึงคำที่คนโบราณกล่าวไว้ได้ว่า "ใครก็ตามที่ล้มเหลวในการวางแผน  คนผู้นั้นก็ได้วางแผนไปสู่ความล้มเหลว"

   ทั้งๆ ที่ภูมิปัญญาประโยคข้างต้นนี้สามารถใช้เป็นเครื่องเตือนใจได้เป็นอย่างดีแล้วก็ตาม  นักลงทุนจำนวนมากก็ยังคงเริ่มต้นการลงทุนของเขาโดยไม่มีแผนการใดๆ เลย  เหตุผลหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่ามีนักลงทุนจำนวนน้อยมากที่มีความสามารถในการเขียนแผนการลงทุนได้ดี และนั่นคือสิ่งที่ผู้คนในวอลล์สตรีทและสือมวลชนไม่อยากให้คุรทำ  กลยุทธ์การเอาชนะของผู้คนเหล่านั้นคือ กลยุทธ์ที่จะทำให้คุณพ่ายแพ้นั่นเอง

   มันเป็นสิ่งสำคัญมากที่ต้องพึงเข้าใจว่า  แผนการลงทุนมีความจำเป็นต่อการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลเกี่ยวกับการลงทุน  คุณไม่สามารถที่จะประเมินค่าการลงทุนใดๆ ได้อย่างเหมาะสมโดยปราศจากการพิจารณาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อความเสี่ยงและความคาดหวังต่อผลตอบแทนของพอร์ตการลงทุนของคุณ  ซึ่งนั่นเป็นข้อได้เปรียบที่จะบรรลุถึงความสำเร็จในแผนการลงทุน

แผนการเงินจะต้องเป็นเอกสารที่มีชีวิต 

    เช่นเดียวกับแผนธุรกิจซึ่งต้องมีการทบทวนอยู่เป็นประจำเพื่อที่จะปรับเปลี่ยนไปตามปัจจัยต่างๆ ของตลาด  แผนการลงทุนและแผนการเงินจะต้องเป็นเอกสารที่มีชีวิตต้วย  ถ้าแผนใดๆ ของคุณมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับชีวิตเกิดขึ้น  ก็จะส่งผลต่อแผนต่างๆ เป็นอย่างมาก  ดังนั้นแผนการลงทุนจึงควรจะต้องได้รับการทบทวนทุกครั้งที่มีเหตุการณ์สำคัญๆ ในชีวิตเกิดขึ้น

   การเคลื่อนไหวของตลาดก็สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของสมมติฐานได้เช่นกัน  ขณะที่ตลาดอยู่ในภาวะขาขึ้นอาจจะหมายความว่าคุณกำลังมุ่งหน้าไปสู่เป้าหมายแล้วซึ่งจะทำให้คุณมีความเสี่ยงน้อยลง  แต่ภาวะตลาดขาขึ้นก็อาจจะไปลดความคาดหวังในผลตอบแทนลงได้  นั่นหมายความว่าเป้าหมายของหลายๆ คนอาจจะห่างไกลออกไปและจะต้องรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย  ในทางกลับกันสำหรับภาวะตลาดขาลงนั่นจะเกิดขึ้นได้จริง  ดังนั้นนโยบายที่ดีคือการทบทวนแผนการลงทุนและสมมติฐานที่วางไว้ทุกๆ ปี 

  ก่อนที่คุณจะเขียนแผนการลงทุน  คุณควรจะทบทวนแผนการเงินและสถานะส่วนบุคคลของคุณเสียก่อน  นอกเหนือจากการพิจารณาแผนการเงินแล้ว  คุณยังควรจะพิจารณาปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้อีกด้วย
  • ความมั่นคงในหน้าที่การงานของคุณ
  • ความเสี่ยงในงานของคุณเกี่ยวพันกับการลงทุนในหุ้นของคุณหรือไม่?
  • ขนาดการลงทุนของคุณ
  • ความทนทานต่อความเสี่ยง
  • ความต้องการเงินสำรองฉุกเฉิน
    จงจำไว้ว่าขนาดการลงทุนของคุณจะมีผลต่อการวางแผนเกษียณอายุของตัวคุณเอง  และมันอาจจะเกี่ยวพันกับการจากไปของคุณ  หากคุณลงทุนเผื่อแทนลูกหลาน

    คุณควรจะพิจารณาถึงความจำเป็นที่จะต้องรับความเสี่ยงด้วย  คุณเก็บออมเงินได้เพียงพอหรือไม่?  ถ้าเพียงพอแล้ว  ทำไมคุณจุต้องรับความเสี่ยงต่อไปอีก?   นักลงทุนจำนวนมากมายล้มเหลวกับการทำความเข้าใจว่ากลยุทธ์ที่สร้างความร่ำรวย (โดยการรับความเสี่ยง) นั้นแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับกลยุทธ์ที่ดำรงความร่ำรวยให้คงอยู่ 

    สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ  มันไม่เพียงพอที่จะมีแค่แผนการลงทุนที่ดีเพียงอย่างเดียว  คุณจำเป็นต้องนำแผนการเงินเข้ามาพิจารณาประกอบด้วยซึ่งจะต้องรวมถึงเรื่องอสังหาริมทรัพย์  การวางแผนภาษี  และการจัดการความเสี่ยงไม่ว่าจะเป็นความต้องการของชีวิต  สุขภาพ  การเสื่อมสมรรถภาพ  การรักษาพยาบาลระยะยาว  หนี้สินส่วนบุคคล และการประกันชีวิต    นอกจากนั้นยังต้องมีการวางแผนประกันสังคม  แล้วในที่สุดยังต้องรวมถึงกิจกรรมการบริจาคสาธารณกุศลเข้าไปไว้ด้วย

     แผนการลงทุนที่ดีควรจะต้องมีการส่งมอบความมั่งคั่งไปย้งสมาชิกในครอบครัวไว้ด้วย  ซึ่งคุณสามารถทำร่วมกับแผนงานที่เรียกว่า  แผนการลงทุนเพื่อครอบครัวมั่งคั่ง  และที่สำคัญ  คุณควรจะทำแผนฉุกเฉินไว้เผื่อกรณีที่พอร์ตการลงทุนของคุณล้มเหลวที่จะส่งมอบผลตอบแทนตามที่วางแผนไว้  คุณควรเขียนระบุให้ชัดเจนเลยว่าคุณจะแก้ปัญหาอย่างไรถ้าสภาวะตลาดตกต่ำนำไปสู่เหตุการณ์ความล้มเหลวที่คุณไม่สามรถยอมรับได้  คุณคงไม่อยากพบตัวเองอยู่ในสถานณ์การณ์ที่พอร์ตการลงทุนของคุณล้มเหลวหรือตกอยู่ในอันตรายเป็นแน่  

   หนังสือนโยบายการลงทุน  หรือ IPS ของคุณควรรวมเอารายการของเป้าหมายเฉพาะไว้ด้วย  เช่น  มูลค่าเงินที่คุณว่างแผนจะเพิ่มเข้าไปในพอร์ตการลงทุนในแต่ละปี  มูลค่าสินทรัพย์ที่คุณพยายามจะสะสมให้ได้ตามเวลาที่กำหนด  เมื่อไรที่คุณจะเริ่มต้นถอนเงินออกจากพอร์ตการลงทุนของคุณ  และมูลค่าเงินที่คุณจะถอนออกมาในแต่ละปี  ข้อระบุทั้งหลายเหล่านี้จะทำให้คุณสามารถตรวจสอบความก้าวหน้าได้ว่าคุณยังคงดำเนินตามเป้าหมายที่วางไว้และตามระยะเวลาที่กำหนดหรือไม่  และเพื่อให้คุณปรับเปลี่ยนแผนได้อย่างเหมาะสมตลอดระยะเวลาการลงทุน    ขั้นตอนต่อไปในการพัฒนาแผน IPS ของคุณคือ  การจัดสรรการลงทุนหรือการจัดพอร์ตการลงทุน  ควรรวมเอาตารางการจัดสรรการลงทุนแต่ละประเภทให้เป็นตามแผน  มีการกำหนดขอบเขตการจัดสรรการลงทุนแต่ละประเภทโดยกำหนดวงเงินต่ำสุดและวงเงินสูงสุดที่คุณสามารถลงทุนได้เพื่อให้การปรับสมดุลพอร์ตการลงทุนทำได้คล่องตัวและยังเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ IPS ที่ทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรจะเป็นไกด์นำทางและช่วยสร้างวินับที่จำเป็นต่อกลยุทธ์ในการลงทุน  ส่วนการพัฒนาแผนการจัดสรรการลงทุน  เราจะพูดถึงในครั้งต่อไป

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

คำแนะนำของ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” สำหรับปี 2015

  

 ผมได้มีโอกาสอ่านบทความเรื่อง “6 Things Warren Buffett Says You Should Do With Your Money In 2015” จากเว็บไซต์ “Business insider” ซึ่งผู้เขียนบทความนี้ได้รวบรวมข้อคิดดีๆ ที่สุดยอดนักลงทุนอย่าง “วอร์เรน บัฟเฟตต์” ได้กล่าวไว้ในวาระต่างๆ ในปีที่ผ่านมา สรุปเป็นคำแนะนำทางด้านการเงิน 6 ข้อ ผมเห็นว่ามีประโยชน์ จึงขอนำมาถ่ายทอดให้คุณผู้อ่านได้อ่านกันครับ

    1.ลงทุนในแหล่งที่มีความปลอดภัย 

    ในจดหมายถึงผู้ถือหุ้นบริษัท เบิร์กไชร์ ฮาธาเวย์ ประจำปี 2014 “บัฟเฟตต์” ได้เปิดเผยถึงแผนการบริหารทรัพย์สินของเขา พร้อมทั้งแนะนำให้ผู้อ่านลงทุนในแหล่งลงทุนที่มีความปลอดภัย มีค่าใช้จ่ายต่ำ และเป็นการลงทุนแบบระยะยาว เขาแนะนำให้ลงทุนในกองทุนดัชนี S&P 500 ที่คิดค่าใช้จ่ายในการบริหารกองทุนต่ำมากๆ ซึ่งเขาเชื่อว่าจะสามารถสร้างผลตอบแทนระยะยาวได้ดีกว่าแหล่งลงทุนอื่นๆ ที่ต้องจ้างผู้จัดการกองทุนค่าตัวแพงๆ

    2.อยู่ให้ห่างจาก “Bitcoin” 

    “Bitcoin” เป็นสกุลเงินชนิดหนึ่งในโลกอินเตอร์เน็ต ซึ่งอาจยังไม่เป็นที่รู้จักมากนักในเมืองไทย “บัฟเฟตต์” มองว่าการทำธุรกรรมทางการเงินรูปแบบดังกล่าวไม่ใช่เป็นเรื่องของการลงทุน เนื่องจากมันไม่มีมูลค่าที่แท้จริง แต่เป็นเหมือนภาพลวงตา และเป็นเพียงการหมุนเงินหรือถ่ายโอนเงินรูปแบบหนึ่งเท่านั้น เขาจึงแนะนำให้อยู่ห่างๆ เอาไว้

    3.เรียนรู้ที่จะอ่านงบการเงิน

    “บัฟเฟตต์” ได้ให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ฝึกงานด้านหลักทรัพย์คนหนึ่งไว้ว่า ให้พยายามเข้าอบรมด้านบัญชีให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เนื่องจากบัญชีเป็นภาษาของธุรกิจ มันจะทำให้สามารถอ่านและทำความเข้าใจงบการเงินได้ง่ายขึ้น นี่เป็นการเรียนรู้เล็กๆ น้อยๆ ในเบื้องต้น ที่จะเป็นประโยชน์มหาศาลในภายหลัง 

    4.มุ่งเน้นที่การเก็บออม ไม่ใช่มุ่งหวังรวยเร็ว

    “บัฟเฟตต์” บอกว่า ความผิดพลาดที่ใหญ่หลวงที่สุดก็คือ การไม่เรียนรู้และฝึกฝนให้มีนิสัยในการเก็บออมอย่างเหมาะสมแต่เนิ่นๆ การออมให้เป็นนิสัยนั้นสามารถทำให้เรารวยได้ แม้ต้องอาศัยเวลาบ้างก็ตาม ในขณะที่การร่ำรวยแบบเร็วๆ หรือรวยทางลัดนั้น “บัฟเฟตต์” บอกว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ  

    5.เมื่อราคาหุ้นตก ให้ซื้อ ไม่ใช่ขาย

    “บัฟเฟตต์” ให้สัมภาษณ์ว่า เขาชอบเข้าซื้อตอนที่หุ้นตก ยิ่งตกหนักๆ เขายิ่งชอบ “ผมไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่าตลาดหุ้นจะไปในทิศทางใด ผมรู้แค่ว่าควรเข้าไปซื้อหุ้นของกิจการที่มีราคาเหมาะสมเพื่อเป็นเจ้าของในระยะยาว”

    6.หยุดทำตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญ

    “บัฟเฟตต์” บอกว่า คุณไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญในการสร้างผลตอบแทนทางการลงทุนที่ยอดเยี่ยม เพียงแค่คุณรู้ข้อจำกัดของตัวเอง และเดินตามแนวทางที่ถูกต้องเหมาะสม มีเหตุมีผล และอย่าหวั่นไหวไปตามกระแสรอบข้าง ถ้ามีผู้มายื่นข้อเสนอที่จะทำให้คุณได้กำไรอย่างรวดเร็ว ก็ให้รีบปฏิเสธเขาไปอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน “บัฟเฟตต์” กล่าวเตือนสติไว้ว่า “ถ้าคุณไม่ได้ลงทุนในสิ่งที่คุณรู้จริง ก็เท่ากับว่าคุณกำลังเล่นพนันหรือเสี่ยงดวงนั่นเอง”

    ทั้งหมดนั้นก็คือ คำแนะนำที่ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” ได้ให้ไว้ หวังว่าคุณผู้อ่านจะสามารถนำไปปรับใช้ให้เป็นประโยชน์กับการบริหารเงินและการลงทุนได้บ้างไม่มากก็น้อยครับ